Page 11 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
P. 11

๑.๑  ความเป็นมา




                 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
        พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๙๙ และตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีผลบังคับใช้
        เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ โดยได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสม. ชุดแรก ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๔
        และวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๔ มีวาระการด�ารงต�าแหน่ง ๖ ปี ในช่วงการปฏิบัติหน้าที่ของ กสม. ชุดแรก ได้เกิดการรัฐประหาร
        ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

        ประมุข และได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ โดย กสม. ชุดแรกยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตาม
        พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ได้มีการประกาศ
        ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๖ ซึ่งก�าหนดให้ กสม. เป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

        อันประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอื่นอีก ๖ คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามค�าแนะน�าของวุฒิสภา
        มีวาระการด�ารงต�าแหน่ง ๖ ปี และด�ารงต�าแหน่งได้เพียงวาระเดียว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ กสม. ชุดแรกครบวาระการด�ารงต�าแหน่ง
        ๖ ปีแล้ว แต่ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการสรรหา กสม. ชุดที่ ๒ แล้วเสร็จ


                 ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๒ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสม. ชุดที่ ๒ มีผล ให้กสม. ชุดแรก

        พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ และ กสม. ชุดที่ ๒ ได้รับหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๒ เป็นต้นมา ในช่วง
        การปฏิบัติหน้าที่ของ กสม. ชุดที่ ๒ ได้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ท�าให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
        น�าโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าควบคุมอ�านาจในการบริหารประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และมีประกาศ

        คสช. ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลง ยกเว้น หมวด ๒ และให้องค์กร
        อิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งเป็นผลให้ กสม.
        ชุดที่ ๒ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ จนกว่าจะมี
        พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสม. ชุดใหม่ ให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ และต่อมาได้มีประกาศ คสช. ฉบับที่ ๔๘/๒๕๕๗
        ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรื่อง การสรรหาบุคคลเพื่อด�ารงต�าแหน่งแทนต�าแหน่งที่ว่าง ก�าหนดว่าในกรณีที่จ�าเป็นต้อง

        สรรหาผู้ด�ารงต�าแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ... หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแทนต�าแหน่งที่ว่าง ให้ด�าเนินการสรรหา
        ผู้ด�ารงต�าแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เคยด�าเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
        หากในการสรรหาไม่มีผู้ด�ารงต�าแหน่งซึ่งต้องมีในคณะกรรมการสรรหาให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่



                 โดยที่ กสม. ชุดที่ ๒ จะครบวาระการด�ารงต�าแหน่งเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ แต่เนื่องจากกระบวนการสรรหา
        กสม. ชุดที่ ๓ ยังด�าเนินการไม่แล้วเสร็จ ท�าให้ กสม. ชุดที่ ๒ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
        แต่งตั้ง กสม. ชุดที่ ๓ และเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสม. ชุดที่ ๓ ทั้งนี้
        กสม. ชุดที่ ๓ ได้เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ โดยมีวาระการด�ารงต�าแหน่ง ๖ ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์

        ทรงแต่งตั้ง ด�ารงต�าแหน่งได้เพียงวาระเดียว ซึ่งจะครบวาระการด�ารงต�าแหน่งในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔


         ๑.๒ อ�นาจำหน้าที่



                 พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ ได้บัญญัติอ�านาจหน้าที่ของ กสม. ไว้ ดังนี้
                 (๑)  ส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
                 (๒)  ตรวจสอบและรายงานการกระท�าหรือการละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออัน
        ไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี  และเสนอมาตรการการแก้ไข





                ร�ยง�นผลก�รปฏิบัติง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ  2  ประจำ�ปีงบประม�ณ พ.ศ. ๒๕๕๙
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16