Page 16 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 16

16          รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                  ที่จะทำาให้องค์กรภาคเอกชนนำาแนวทางตามหลักปฏิบัตินี้เข้าไปเป็นแนวทางหรือเงื่อนไขในการ

                  ประกอบกิจการและกำากับกิจการอย่างจริงจัง  ทั้งนี้เพราะสำาหรับภาคเอกชน เงื่อนไขการปฏิบัติ
                  ที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น จึงเริ่มมีข้อเสนอโดยผู้แทนของรัฐบาลอย่างน้อย

                  84 ประเทศ สนับสนุนให้นำาแนวทางตามหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนมาจัดทำา
                  เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลผูกพัน (legally binding instrument)  2


                         ต่อมา แนวคิดดังกล่าวนำาไปสู่การจัดตั้ง คณะทำางานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                  และบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจอื่น (UN Working Group on the issue of human rights
                                                                                                   3
                  and transnational  corporations and other business enterprises) ขึ้นในปี พ.ศ. 2554
                  โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการนำาหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติให้เกิดผลสำาเร็จ

                  การแสวงหาความร่วมมือกับรัฐบาลของแต่ละประเทศและภาคธุรกิจเพื่อนำาไปสู่แนวทางการจัดทำา
                  กฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลผูกพัน และการจัดทำาข้อเสนอแนะเพื่อจัดทำาแผนปฏิบัติการแห่งชาติ

                  ว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights - NAP)

                         ในส่วนของบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายหลังการประชุมของคณะกรรมการ
                  ประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (International  Coordinating

                  Committee of National Institutes for the Promotion and Protection of Human Rights
                  – ICC) ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2553 ณ กรุงเอดินเบอระ สก็อตแลนด์

                  สหราชอาณาจักร ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการร่วมกันให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                  เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการ (address) ประเด็นปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน โดยได้มี

                  การจัดทำาปฏิญญาร่วมกัน เรียกว่า “ปฏิญญาเอดินเบอระ” (Edinburgh Declaration)

                         สาระสำาคัญของปฏิญญาฉบับนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก กล่าวถึงบทบาทของสถาบัน
                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเด็นด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย บทบาทด้านการส่งเสริม

                  การศึกษาและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน การติดตามสถานการณ์ การรับข้อร้อง

                  เรียน และการเจรจาไกล่เกลี่ยการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ส่วนที่สอง กล่าวถึงการ
                  สนับสนุนให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
                  ร่วมกับสหประชาชาติ สื่อมวลชน สถาบันวิชาการ องค์กรธุรกิจ สหภาพแรงงาน และองค์กรระดับชาติ

                  ระดับภูมิภาค และองค์กรระหว่างประเทศ การส่งเสริมให้มีการจัดประชุมทบทวนในระดับภูมิภาคว่า

                  ด้วยการจัดทำาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่ริเริ่มโดยสถาบันสิทธิมนุษยชน




                  2                        th
                    Group of Countries at the 24  Session of the Human Rights Council. (2013). Statement on
                    General Debatable 3 “Transnational Corporations and Human Rights”. [Online] Available from :
                    http://business-humanrights.org/sites/default/files/media/documents/statement-unhrc-legally-
                                         th
                    binding.pdf [Accessed : 20  April 2015].
                  3
                    ตามมติ A/HRC/17/4 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://www.ohchr.org/EN/Issues/
                    Business/Pages/WGHRandtransnationalcorporationsandotherbusiness.aspx
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21