Page 9 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 9

และป้องกันการละเมิดสิทธิในกลุ่มเยาวชนดังกล่าว โดยชุดประสบการณ์มาจากการวิจัยภาคสนาม

                 เพื่อศึกษาถึงการถูกละเมิดสิทธิหรือได้รับการคุ้มครอง  สิทธิมนุษยชนที่มุ่งประเด็นสิทธิอนามัย

                 เจริญพันธุ์  ได้แก่ สิทธิที่จะตัดสินใจด้วยตนเองที่จะมีบุตรหรือไม่เมื่อใด  สิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่าง

                 มีศักดิ์ศรี ไม่ถูกกีดกัน แบ่งแยก เลือกปฏิบัติ สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องบริการเกี่ยวกับ

                 การตั้งครรภ์ไม่พร้อม การท�าแท้งที่ปลอดภัย การดูแลครรภ์ต่อไปอย่างปลอดภัย และสิทธิความเป็น

                 ส่วนตัว และรักษาความลับในเรื่องการตั้งครรภ์ การคลอด การท�าแท้งและการใช้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                 กับการตั้งครรภ์และการคลอด ซึ่งเป็นสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่อยู่ภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วย

                 สิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศ

                 ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี

                 ในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แผนปฏิบัติการประชากรและการพัฒนา และแผนปฏิบัติ

                 เพื่อความก้าวหน้าของสตรี ที่รัฐสมาชิกหรือรัฐภาคีจะต้องคุ้มครองสิทธิ ขจัดการละเมิดสิทธิต่างๆ

                 การเลือกปฏิบัติแบ่งแยกกีดกันการเข้าถึงการศึกษา ความปลอดภัย รัฐสวัสดิการไปจนถึงทรัพยากร

                 ต่างๆ ของรัฐและสังคม ขจัดการกระท�าที่เป็นการทารุณกรรม การข่มเหงรังแก ก่อให้เกิดอันตราย

                 ทางกาย จิตใจ ที่เกิดขึ้นกับมนุษยชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ไม่ว่าเพศใดก็ตามหรือในวัยใดก็ตาม

                 ซึ่งรวมถึงเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์


                       เพื่อให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆ ในการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชน

                 กลุ่มดังกล่าว งานวิจัยจึงได้ศึกษาถึงอ�านาจของรัฐที่กระท�าบนเนื้อตัวร่างกายและสิทธิของประชาชน

                 โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่น�ามาศึกษา ทั้งกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                 ฉบับเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก (๒๕๔๖) พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความ

                 รุนแรงในครอบครัว (๒๕๕๐) พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (๒๕๕๐) และ

                 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๐๑ - ๓๐๕ บทกฎหมายต่างๆ ของรัฐไทย มีความพยายามอย่างยิ่ง

                 ต่อการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ในฐานะประชาชนพลเมืองของรัฐ ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นในประเด็น

                 ความรุนแรง ทารุณกรรม การบังคับ และการเลือกปฏิบัติ รวมไปถึงสิทธิในการพัฒนายกระดับ

                 คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ผ่านการศึกษา แต่ไม่ได้มุ่งให้ความส�าคัญถึงการอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อนามัย

                 เจริญพันธุ์ และสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเด็กและเยาวชน น�าไปสู่การไม่มีกฎหมาย บทบัญญัติใน

                 การคุ้มครองสิทธิของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ในการดูแลและป้องกันสุขภาพ ในการตัดสินใจว่าจะ

                 มีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด การเข้าถึงบริการ ความรู้ส�าหรับยุติการตั้งครรภ์ ยิ่งไปกว่านั้น
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14