Page 6 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 6

บทคัดย่อ












                        เนื่องจากการให้คุณค่าความหมายของ “เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร” ในสังคมไทย และ


                  เพศสัมพันธ์ของเยาวชนเป็นเรื่องผิดบรรทัดฐานทางสังคม ท�าให้เยาวชนหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่
                  เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ จากทั้งกฎหมาย องค์กร หน่วยงาน


                  ต่างๆ ของรัฐ เช่น โรงเรียนและโรงพยาบาล แม้แต่ในชุมชนและครอบครัวของเยาวชนหญิงเอง ไม่ว่า
                  สิทธิการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกกีดกัน แบ่งแยก เลือกปฏิบัติ การได้รับข้อมูลข่าวสารใน


                  การตัดสินใจ การรับบริการที่ปลอดภัยและรอบด้านที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                  การยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ๑) การศึกษาเปรียบเทียบทั้งกฎหมาย


                  และมาตรการต่างๆ ภายในรัฐไทยและกฎหมายต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                  ของรัฐและองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนของเยาวชน


                  หญิงตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และ ๒) ศึกษาประสบการณ์การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนของเยาวชนหญิง
                  ตั้งครรภ์ควบคู่ไปด้วย ส�าหรับวิธีวิทยาคือ การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายของการศึกษา


                  ได้แก่ ๑) กลุ่มเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม แบ่งเป็นกลุ่มเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ต่อและยุติ
                  การตั้งครรภ์ จ�านวน ๓๒ คน ๒) กลุ่มผู้ปกครองของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และ


                  เจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม โรงพยาบาล โรงเรียน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จ�านวน
                  ๒๐ คน และ ๓) กลุ่มเยาวชนชายทั่วไปที่ยังไม่ได้แต่งงาน ซึ่งไม่จ�าเป็นว่าจะมีประสบการณ์ทางเพศ


                  หรือไม่ จ�านวน ๒๐ คน โดยพื้นที่ในการเก็บข้อมูลเลือกเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี
                  นครปฐม และเพชรบุรี
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11