Page 4 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 4

คำานำา










                        ปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมในกลุ่มเยาวชนหญิงเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรง


                  ยิ่งขึ้นในสังคมไทย จากข้อมูลรายงานสถานการณ์เยาวชนไทยของส�านักงานกองทุนสนับสนุน
                  การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าเยาวชนไทยอายุระหว่าง ๑๕ - ๑๙ ปี จ�านวน ๕ ล้านคน


                  มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ถึง ๑.๒๕ ล้านคน มีอัตราการตั้งครรภ์ ๒.๕ แสนคนต่อปี
                  และร้อยละ ๕๐ ของเยาวชนที่ตั้งครรภ์เลือกที่จะท�าแท้ง นอกจากนี้ ประมาณ ๑ ใน ๔ ของเยาวชน


                  ที่ท�าแท้ง เป็นการท�าแท้งซ�้า และมีเยาวชนเพียง ๑ ใน ๓ ที่มีการคุมก�าเนิดทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
                  เพราะเยาวชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ ๖๕ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์


                  และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ขณะเดียวกัน มีอัตราการคลอดบุตรเฉลี่ย ๑.๒ แสนรายต่อปี
                  หรือเฉลี่ยวันละ ๓๖๐ คน ซึ่งส่วนใหญ่ขาดการดูแลครรภ์ที่เหมาะสม ท�าให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา



                        เมื่อพิจารณาในมิติสิทธิมนุษยชน ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมได้รับผลกระทบ

                  ในหลายประเด็นในมิติสิทธิมนุษยชน ซึ่งเยาวชนที่มีอายุต�่ากว่า ๑๘ ปี พึงได้รับการคุ้มครองสิทธิ

                  การป้องกัน และการดูแลแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖

                  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ และกฎหมายอื่นที่

                  เกี่ยวข้อง รวมทั้งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีในการประกันสิทธิของเด็ก

                  ที่จะต้องได้รับการคุ้มครองและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9