Page 8 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่และสิ่งแวดล้อม ในอนุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2550)
P. 8

ั
                                 คณะผู้ศึกษาได้แบ่งกลุ่มกรณีออกตามลักษณะของปญหาและประเภทของโครงการ ได้ดังนี้
                                                                     ั
                                ประเด็นฐานทรัพยากรน ้า แบ่งกลุ่มลักษณะปญหาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กรณีเกี่ยวกับ
                   เขื่อนและอ่างเก็บน ้า ฝายขนาดใหญ่ 2) กรณีเกี่ยวกับคลองส่งน ้า 3) กรณีเกี่ยวกับการเปลี่ยนสภาพแหล่งน ้า
                   และสร้างสิ่งกีดขวางหรือล่วงล ้าแหล่งน ้า และ 4) กรณีความขัดแย้งในการจัดการน ้า
                                                        ั่
                                                                            ั
                                ประเด็นฐานทรัพยากรชายฝงทะเล แบ่งกลุ่มลักษณะปญหาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กรณี
                                                                       ั่
                   เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือและโครงสร้างวิศวกรรมชายฝง 2) กรณีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ดินชายฝง ั่
                   ทะเล และ 3) กรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายและกิจกรรมทางทะเลต่างๆ รวมถึงความช่วยเหลือภายหลัง
                   ธรณีพิบัติภัยสึนามิ
                                ประเด็นฐานทรัพยากรแร่ จะครอบคลุมถึงฐานทรัพยากรธรณีอื่นๆไว้ด้วย โดยแบ่งกลุ่ม
                                                                                               ั
                           ั
                                                       ั
                   ลักษณะปญหาออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1) กรณีปญหาจากกิจกรรมเหมืองหินและโรงโม่หิน 2) กรณีปญหาจาก
                                                         ั
                                                                                          ั
                   เหมืองแร่ โรงแต่งแร่ และการขนส่งแร่ 3) กรณีปญหาจากการสูบและต้มน ้าเกลือ 4) กรณีปญหาจากการขุด
                                          ั
                   ดินและดูดทราย และ 5)กรณีปญหาเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ดินบริเวณเหมืองแร่เก่า
                                         ั
                                                                         ั
                                ประเด็นปญหาด้านสิ่งแวดล้อม แบ่งกลุ่มลักษณะปญหาออกเป็น 3  กลุ่ม  คือ 1)  กรณี
                     ั
                                                                          ั
                   ปญหาจากโครงการพัฒนาพลังงานและประเด็นที่เกี่ยวข้อง 2)  กรณีปญหาจากมลพิษโรงงานอุตสาหกรรม
                              ั
                   และ 3) กรณีปญหาความขัดแย้งในการจัดการสิ่งแวดล้อมอื่นๆรวมถึงความขัดแย้งเชิงนโยบายและแผนงาน
                   การพัฒนาที่อาจยังไม่เกิดขึ้น

                   3.     หลักเกณฑ์และบทบัญญัติในการตรวจสอบเพื่อคุ้มครองสิทธิ

                                 หลักเกณฑ์ส าคัญที่ได้มีการน ามาใช้ ดังนี้
                                รัฐธรรมนูญ โดยระหว่างวาระของคณะอนุกรรมการฯได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2
                   ฉบับ จึงมีการน ามาใช้ตามช่วงเวลาในการตรวจสอบ  ทั้งนี้มีการน ามาปรับใช้เพียงบางมาตรา ได้แก่
                   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ว่าด้วยหมวดบททั่วไป  หมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

                   หมวดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวดรัฐสภา ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่ง
                   ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ส่วนสิทธิชุมชน ส่วนแนวนโยบายด้าน
                   ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

                                กติการะหว่างประเทศ คณะอนุกรรมการฯหยิบยกมาใช้เพียง 2 ฉบับ และบางข้อที่
                   เกี่ยวข้อง ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ว่าด้วยสิทธิในการ
                   ก าหนดวิถีชีวิตตนเอง การตีความในเรื่องสิทธิปวงชนต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ กติการะหว่าง
                   ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ว่าด้วยสิทธิในการก าหนดวิถีชีวิตตนเอง สิทธิใน

                   การได้รับมาตรฐานขั้นพื้นฐานในการครองชีพ สิทธิและเสรีภาพในการใช้และได้รับประโยชน์จาก
                   ทรัพยากรธรรมชาติ
                                กฎหมายทั่วไป คณะอนุกรรมการได้น ากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง

                   ประกาศกระทรวง ระเบียบ ตลอดทั้งมติคณะรัฐมนตรี มาใช้ประกอบ โดยจะเป็นการหยิบยกมาใช้เพียงบาง
                   มาตรา แต่กฎหมายที่ใช้เกือบทุกกรณี คือ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542
                   พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2530  พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ส่วน
                   กฎหมายอื่นก็เป็นการใช้ตามรายกรณี เช่น พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 พระราชบัญญัติการขุดดินและถม
                   ดิน พ.ศ.2543 เป็นต้น
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13