Page 12 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 12

ชนจะถูกคุกคามและริบไปเท่านั้น  แต่ที่ส าคัญที่สุดก็คือ  การที่สิทธิในชีวิตของมนุษย์เองนั่นแหละที่

                  ตกอยู่ภายใต้การคุกคามและท าลายล้าง   ดังที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว  ว่าสิ่งที่เป็นทรัพย์ส่วนรวม
                  เหล่านี้มีค่าและจ าเป็นต่อประชาชนและชุมชนท้องถิ่นเพียงใด   ในฐานะที่มันเป็นฐานส าหรับการธ ารง
                  รักษาเกื้อกูลชีวิต  ดังนั้น  ควบคู่ไปกับกระบวนการเข้าถือครองและแปรรูปทรัพย์ส่วนรวมให้เป็นของ

                  เอกชน  สิทธิและวิถีการด ารงชีวิตของปวงชนพื้นเมืองและชุมชนชนบทจึงถูกเบียดเบียนลดค่า  ซึ่ง

                  เป็นสิ่งที่เรายังเห็นกันอยู่ทุกวันนี้  แต่ก็อีกนั่นแหละ  นี่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลนักดอก   ยิ่งทุกวันนี้มี
                  ทางแก้ไข  ที่เรียกกันว่า  ‚เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net)‛  ซึ่งธนาคารโลก
                  ได้บัญญัติขึ้นแล้ว  ก็ย่อมสามารถสกัดกั้นบรรดาความเดือดร้อนภัยคุกคามที่อาจส่งผลกระทบต่อ

                  สถานภาพเดิมเอาไว้ได้   คงไม่ต้องกล่าวอะไรมากนักว่า  แนวคิดและมาตรการแก้ไขที่จะท าให้

                  สถานการณ์เลวร้ายลงเช่นนี้   กลับเป็นที่ยอมรับโดยนักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการเป็นจ านวนมาก

                         ใช่แต่เท่านั้น   ขณะนี้การขยายอาณานิคมของทุนเข้าครอบง าธรรมชาติก าลังบรรลุขีด
                  ความสามารถอีกระดับ   โดยทุนอภิมหาอ านาจก าลังขยายขอบข่ายจากการควบคุมจัดการชีวิตไปสู่

                  การผูกขาดชีวิตเสียเอง   โดยอาศัยขีดความสามารถของเทคโนโลยีชีวภาพและระบอบสิทธิใน
                  ทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมาควบคู่กัน   ความข้อนี้ย่อมอธิบายสถานะที่แท้จริงของวิทยาศาสตร์และ

                  เทคโนโลยีในโลกปัจจุบันนี้ได้เช่นกัน   สถานะที่ว่านี้ก็คือการตกอยู่ในอาณัติของบรรษัทขนาดใหญ่
                  และอยู่ภายใต้กระบวนทัศน์อุตสาหกรรมนิยม   ซึ่งเป็นประเด็นส าคัญที่ประชาชนผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ

                  พึงตระหนัก   ดังที่ แอนดรูว์  คิมเบรล  กล่าวบรรยายไว้อย่างน่ารับฟังว่า

                          “เทคโนโลยีชีวภาพขยายขีดความสามารถของมนุษยชาติในการเข้าถึงพลังแห่ง

                         ธรรมชาติ  ชนิดที่ไม่เคยมีเทคโนโลยีใดในประวัติศาสตร์สามารถกระท าได้มาก่อน
                         เวลานี้วิศวกรชีวภาพสามารถควบคุมจัดการชีวิตในรูปแบบต่างๆ ในลักษณะ
                         เดียวกับที่วิศวกรสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมสามารถ แบ่งแยก รวบรวม ใช้ประโยชน์

                         และตักตวงวัตถุอันปราศจากชีวิต  ดุจเดียวกับที่คนรุ่นที่ผ่านมาควบคุมจัดการ

                         พลาสติกและโลหะให้กลายเป็นเครื่องจักรและผลผลิตของยุคอุตสาหกรรม   ปัจจุบัน
                         เราก าลังเข้าจัดการและแปรรูปสิ่งที่มีชีวิตให้กลายเป็นสินค้าอย่างใหม่ในยุค
                         เทคโนโลยีชีวภาพครอบคลุมทั่วโลก

                         ....
                         วัตถุดิบของกิจการอย่างใหม่นี้ก็คือ  ทรัพยากรพันธุกรรม  ดุจเดียวกับที่มหาอ านาจ

                         ในยุคอุตสาหกรรมล่าอาณานิคมไปทั่วโลก  เพื่อเสาะหาแร่ธาตุและเชื้อเพลิงฟอสซิล
                         นักล่าอาณานิคมทางชีวภาพในปัจจุบันก็ก าลังเสาะหาวัตถุดิบทางชีวภาพ  ที่อาจ

                         แปรเปลี่ยนเป็นผลผลิตท าก าไรโดยอาศัยพันธุวิศวกรรม”
                                                                           12
                         ในอดีตที่ผ่านมาไม่นานนัก  พัฒนาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพเป็นที่รู้จักและยอมรับในฐานะ

                  วิทยาการเกี่ยวกับการควบคุมบักเตรีที่ก่อให้เกิดโรคภัย  ซึ่งเป็นวิทยาการอันทรงคุณต่อมนุษยชาติ
                  ส่วนรูปแบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต  อันหมายถึงผลิตผลของธรรมชาติเองนั้น  แนวคิดทางนิติศาสตร์เดิม

                  ไม่อนุญาตให้มีการจดสิทธิบัตรได้  แต่การณ์กลับพลิกผันโดยสิ้นเชิง   เมื่อศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกา



                                                             ๑๐
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17