Page 7 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 7

พื้นฐานของสิทธิมนุษยชน  อันได้แก่สิทธิในชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ทั้งสองฝ่ายได้แต่สร้าง

                  ข้อโต้แย้งกันขึ้นมาเอง  ซึ่งรังแต่จะฉุดรั้งไม่ให้เราได้ด าเนินไปตามแนวทางความก้าวหน้าแห่งมวล
                  มนุษย์   อันเป็นแนวทางที่  ดับบลิว เอฟ แวร์ไทม์  ได้ให้ค าจ ากัดความไว้อย่างเหมาะสมว่า คือการ
                                               5
                  เป็นอิสระจากการครอบง าทั้งปวง     แท้ที่จริง ทั้งเสรีภาพของมนุษย์และความก้าวหน้าของมนุษย์ก็
                  คือสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน  จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้  แนวคิดในท านองเดียวกันนี้

                  เรายังเห็นได้จาก ‚เสรีภาพสี่ประการ‛ หลัก  ที่แฟรงคลิน ดี รูสเวลท์  ประกาศสนับสนุนในช่วงปลาย
                  สงครามโลกครั้งที่สอง อันได้แก่  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  เสรีภาพในศาสนา  เสรีภาพจาก
                  ความอดอยาก  และเสรีภาพจากความหวาดกลัว  ซึ่งทั้งหมดเป็นรากฐานของวิสัยทัศน์สู่สันติภาพ

                  ความมั่นคง และสิทธิมนุษยชน   ดังที่เราคงจ ากันได้ดี  วิสัยทัศน์ในระดับโลกดังกล่าวนี้เองที่น ามาซึ่ง

                  การจัดตั้งสหประชาชาติ  และตามมาด้วยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  จากนั้นมาองค์กร
                  ระดับโลกแห่งนั้นก็ถือเป็นภารกิจหลักของตน  ที่จะขยายขอบข่ายสิทธิมนุษยชนให้กว้างขวาง
                  ยิ่งขึ้นไปอีก  และยังคงด าเนินอยู่เรื่อยมาตราบจนทุกวันนี้  แม้จะมีข้อจ ากัดและข้อด้อยอยู่หลาย

                  ประการ  ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัย  ในฐานะที่เป็นองค์การระหว่างประเทศก็ตาม  แต่อย่างน้อยที่สุด

                  ก็สามารถจะเป็นพื้นฐานแบบประชาธิปไตยที่ชอบธรรมส าหรับผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์และปวงชนทั้งหลาย
                  ในอันที่จะแสวงหาหนทางของตน  โดยมีแรงสนับสนุนทางศีลธรรมจากมติสาธารณะระดับโลก  และ
                  นับเป็นนิมิตหมายที่ดี  ที่ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น  ซึ่งเป็น

                  ความใส่ใจของพวกเราในที่นี้  ก็อยู่ในวิสัยของมุมมองประชาธิปไตยระดับโลกดังกล่าวด้วย  จึงเป็น

                  เรื่องที่เราควรพิจารณากันว่าประเด็นนี้อยู่ในฐานะเช่นไร  ภายใต้ความสนับสนุนของสหประชาชาติ
                  เพื่อที่เราจะได้รู้ชัดว่าจะต้องท าอะไรต่อไปอย่างไร

                         เรื่องนี้น าเรามาสู่ประเด็นที่สอง  ได้แก่ค าถามว่าด้วยกฎหมายและระเบียบระหว่างประเทศ

                  กับค าถามว่าด้วยเสรีภาพและความก้าวหน้าของมนุษย์  ในการนี้  ผมจะแสดงทัศนะโดยอาศัย
                  งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนโดย IUCN ในหัวข้อ  สิทธิในทรัพยากรตามจารีต: เครื่องมือระหว่าง

                  ประเทศส าหรับการคุ้มครองและชดเชยให้แก่ปวงชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น     ทั้งนี้ก็เพื่อให้เห็น
                                                                                       6
                  ภาพโครงโดยคร่าวเกี่ยวกับเครื่องมือสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีอยู่  ทั้งที่มีฐานะผูกพันและไม่

                  มีผลผูกพันทางกฎหมาย

                         ในส่วนที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ประกอบด้วยข้อตกลงสี่ฉบับหลักๆ ได้แก่  กติการะหว่าง

                  ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  (UN International Covenant on Civil and
                  Political Rights (ICCPR)) 1976,  กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและ
                  วัฒนธรรม (UN International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR))

                  1976,อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 169 ว่าด้วยปวงชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ใน

                  ประเทศเอกราช (International Labour Organization Convention 169 concerning Indigenous
                  and Tribal Peoples in Independent Countries (ILO169)) 1989, และอนุสัญญาว่าด้วยความ
                  หลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity (CBD))1992







                                                             ๕
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12