Page 14 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 14

โรงแรม ตลอดจนระเบียบในการปฏิบัติงานที่ละเอียดเกินไป เช่นการหักเงินค่าจ้างโดยผิดกฎหมาย
              เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย และนายจ้างปิดกิจการโดยไม่มีเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ เพื่อ
              ชำระให้ลูกจ้าง
                    คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ (คปอ.)
              มักถูกครอบงำโดยฝ่ายนายจ้าง เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานที่ซ้ำซาก หน่วยงานรัฐไม่สามารถตรวจ
              สอบได้ทั่วถึงและขาดบทบาทเชิงรุกในการส่งเสริมให้สหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในการตรวจความ
              ปลอดภัยอย่างแท้จริง มีหลายหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบแต่ไม่ประสานงานกัน ลูกจ้างได้รับความ
              เดือดร้อนในระหว่างการรักษา เนื่องจากต้องดำเนินการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายด้วย และนายจ้าง
              บางส่วนไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของแพทย์ จึงมีการฟ้องคดีต่อศาลแรงงานซึ่งต้องใช้เวลายาวนาน ตลอด

              จนยังไม่มีมาตรการทางบริหารในการคุ้มครองดูแลคนเจ็บป่วยอย่างเพียงพอ
                    เมื่อไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานหรือถูกเอาเปรียบ ลูกจ้างจึงจัดตั้งสหภาพแรงงาน มีการตรวจสอบ
              การกระทำของนายจ้าง  เจรจาต่อรอง  และเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย  นำไปสู่การคุกคามและ
              กลั่นแกล้งผู้นำลูกจ้างที่หลากหลายรูปแบบและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนายจ้างที่ไม่เข้าใจ
              สหภาพแรงงาน
                    มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะข่มขู่หรือกดดันการใช้สิทธิของลูกจ้าง
              และสหภาพแรงงาน  เช่น  การดำเนินคดีอาญากับผู้นำสหภาพแรงงาน  ไม่ยอมรับการจัดตั้ง

              สหภาพแรงงานประเภทกิจการ เลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงานโดยอ้างเหตุผลครอบจักรวาล นำทหาร
              เข้าไปในสถานประกอบกิจการในระหว่างที่มีการเจรจาต่อรองในลักษณะคุกคาม  มีการห้ามปิด
              ประกาศหรือแจกจ่ายเอกสาร หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ของสหภาพแรงงานในสถานประกอบกิจการ
              และจัดอบรมเพื่อละลายพฤติกรรมและกดดันให้ลูกจ้างลาออกจากงานภายหลังข้อพิพาทแรงงานยุติ
              ลง ตลอดจนการเสนอผลประโยชน์จำนวนมหาศาลให้ผู้นำเพื่อเลิกเกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานหรือ
              ออกจากงาน หรือไม่ยอมให้กลับเข้าทำงานในสถานประกอบการโดยจ่ายค่าจ้างให้ เป็นต้น
                    มีการจ้างงานระยะสั้น  การจ้างเหมาค่าแรงในกระบวนการผลิต  และการจ้างเหมาช่วง
              แพร่ขยายแทบทุกสาขาการผลิตและบริการ นายจ้างที่เป็นผู้รับเหมาค่าแรงหลบเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม
              กฎหมายคุ้มครองแรงงาน  หักเงินลูกจ้างไว้แต่ไม่นำส่งเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน  และกองทุน

              ประกันสังคม ลูกจ้างเหล่านี้ทำงานในคุณภาพเดียวกันแต่ได้รับสวัสดิการที่แตกต่างกัน มีข้อจำกัด
              ในการรวมตัวหรือการต่อรองเพราะจะถูกเลิกสัญญาจ้างได้โดยง่าย  ไม่พร้อมหรือไม่กล้าแสดงตน
              ในการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย และไม่มีความมั่นคงในการทำงาน
              	     ๒) กลุ่มคนทำงานในภาครัฐ พบว่า คนทำงานในหน่วยงานราชการไม่อยู่ในการบังคับใช้ของ
              กฎหมายด้านแรงงานเกือบทั้งหมด  ยกเว้นในส่วนของลูกจ้างที่มีบางส่วนเข้าระบบประกันสังคม
              สำหรับลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนตกอยู่ภายใต้สัญญาจ้างระยะสั้นคราวละ ๑ ปี ถูกเลือกปฏิบัติในการ
              จ้างงาน ไม่มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานและไม่มีกฎหมายคุ้มครองหรือรับรองสิทธิการเจรจาต่อรองไว้

              เป็นการเฉพาะและไม่มีความมั่นคงในการทำงาน
                    สิทธิประโยชน์มีอยู่เพียงเล็กน้อยและเป็นไปตามระเบียบของแต่ละหน่วยงาน ไม่มีมาตรฐาน
              เดียวกัน  ทั้งยังแตกต่างและต่ำกว่ามาตรฐานตามกฎหมายด้านแรงงาน  ทั้งนี้รวมถึงลูกจ้างใน


        ๑๔    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   14                                                                      7/28/08   8:37:20 PM
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19