Page 13 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 13

๑. สถานการณ์ปัญหาการละเมิด


              
     นับแต่ปี ๒๕๔๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ มีเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน
              ด้านแรงงานที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมอบหมายต่อคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
              จำนวนทั้งสิ้น ๒๔๐ เรื่อง จำแนกตามกลุ่มเป้าหมายและมิติของการละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งหลายกรณี
              มีการละเมิดในมิติอื่นๆ ควบคู่ด้วย โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ ที่มีปัญหา
              เชื่อมโยงทุกมิติ ได้ดังนี้

                                                มิติสิทธิแรงงาน
               ประเภท             รวม  กฎหมาย การ          ความ       เสรีภาพใน การจ้างงาน
               กลุ่มคนทำงาน              คุ้มครอง ประกัน ปลอดภัยใน การรวมตัว/ โดยไม่เป็นธรรม
                                         แรงงาน  สังคม  การทำงาน ต่อรอง           - จ้างเหมาค่าแรง
                                                           และเงิน                - จ้างงานระยะสั้น
                                                           ทดแทน                  - จ้างงานนอกระบบ

               ๑)†ˇ† ภาคเอกชน*    ๑๕๗  ๗๐         ๖        ๑๔         ๕๐          ๑๔

               ๒) ภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ  ๕๐  ๒๒      ๐        ๑          ๐           ๒๗

               ๓) แรงงานนอกระบบ  ๓
               ๔) แรงงานไทยไป     ๑๒

               ทำงานต่างประเทศ
               ๕) แรงงานข้ามชาติ  ๑๘

               รวม**              ๒๔๐  ๑๒๕        ๖        ๑๕         ๕๐          ๔๑

                    คนทำงานทุกกลุ่มเป้าหมายถูกละเมิดสิทธิแรงงานทั้งโดยฝ่ายนายจ้าง เจ้าหน้าที่รัฐ กฎหมาย
              แรงงานที่เกี่ยวข้อง และนโยบายของรัฐ กล่าวคือ
              	     ๑) กลุ่มคนทำงานในภาคเอกชน  แม้ว่ามีกฎหมายคุ้มครองดูแลด้านสิทธิแรงงานค่อนข้าง
              สมบูรณ์ กลับปรากฏว่า คนทำงานหรือลูกจ้างถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานทุกมิติ กล่าวคือ มีการบังคับ
              ใช้แรงงานให้ทำงานล่วงเวลาและในวันหยุด ลูกจ้างที่มีครรภ์ถูกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เช่น ไม่จัดงาน
              ที่เหมาะสมให้ ย้ายงานใหม่ที่ลำบากกว่าเดิมเพื่อกดดันให้ลาออก หรือถูกเลิกจ้างโดยอ้างเหตุคนล้น

              งานหรือคำสั่งซื้อสินค้าลดลง
                    ลูกจ้างต้องทำงานภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวดและล่วงเกินสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เช่นมีกล้อง
              โทรทัศน์วงจรปิดจับจ้องอยู่ตลอดเวลา มีการค้นตัวที่ไม่เหมาะสมในกิจการเครื่องประดับและกิจการ


                    *กลุ่มนี้มีการละเมิดในมิติอื่นๆ เช่น สิทธิส่วนบุคคล หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของลูกจ้างเพิ่มเติมจากตารางอีก จำนวน
              ๓ เรื่อง คือ (๑) กรณีลูกจ้างบริษัทไทยเกรียง กรุป จำกัด (มหาชน) ร้องเรียน กรณีศาลแรงงานกลางไม่อนุญาตให้ผู้รับมอบอำนาจ
              รับเงินแทน  (๒) กรณีลูกจ้างชาวญี่ปุ่นร้องเรียนเรื่องบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า และ (๓) กรณีลูกจ้างร้องเรียนว่าบริษัท
              ซันไมร์โครซิสเต็ม ให้ออกจากสถานที่ทำงานโดยละเมิดสิทธิบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำให้ลูกจ้างรู้สึกว่าถูกลดค่าลง
                    **จำนวนรวมในตารางที่เกี่ยวข้องกับตารางอื่นๆทั้งหมด แสดงในช่อง “กฎหมายคุ้มครองแรงงาน”
                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๑๓





     Master 2 anu .indd   13                                                                      7/28/08   8:37:01 PM
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18