Page 12 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 12

เนื่องในโอกาสครบวาระการดำเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดแรก

              (๒๕๔๔-๒๕๕๐) คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน เห็นควรให้จัดทำรายงานการศึกษา เรื่องสถานการณ์
              สิทธิมนุษยชนด้านแรงงานในรอบหกปี  โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายคนทำงานในการศึกษาออกเป็น
              ๕  กลุ่ม  คือ  (๑)  คนทำงานภาคเอกชน  (๒)  คนทำงานภาครัฐ  (๓)  คนทำงานในภาคเศรษฐกิจ
              นอกระบบ (๔) คนไทยไปทำงานในต่างประเทศ และ (๕) แรงงานข้ามชาติ (หรือที่กฎหมายของไทย
              เรียกว่าแรงงานต่างด้าว) โดยมีขอบเขตการศึกษาจากกรณีร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
              แห่งชาติมอบหมายต่อคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                                                           วิธีการศึกษาคือ  การประมวล  สังเคราะห์และ
                                                     วิเคราะห์จากเรื่องร้องเรียนและรายงานผลการตรวจ
                                                     สอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน  โดยคณะกรรมการ

                                                     สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมทั้งการสัมมนาที่จัดต่อเนื่อง
                                                     มาโดยคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  โดยพิจารณา
                                                     ตามกรอบมิติสิทธิแรงงาน ๕ ด้าน คือ (๑) ด้านกฎหมาย
                                                     คุ้มครองแรงงาน (๒) ด้านสุขภาพและความปลอดภัย
                                                     ในการทำงาน (๓) ด้านการประกันสังคม (๔) ด้านการรวม
                                                     ตัวและการเจรจาต่อรองร่วม และ (๕) ด้านการจ้างงาน
                                                     โดยไม่เป็นธรรม

                                                           เนื้อหาโดยรวมจะกล่าวถึง กรอบแนวคิดกฎหมาย
              ในประเทศด้านแรงงาน  และมาตรฐานสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน  จนถึงข้อเสนอแนะโดย
              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สถานการณ์ปัญหาการละเมิด มูลเหตุการละเมิด ในแต่ละกลุ่ม
              เป้าหมาย  การดำเนินการตรวจสอบ  มาตรการแก้ไขปัญหา  และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ
              คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน จากการศึกษาพบว่า




        ๑๒    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   12                                                                      7/28/08   8:36:30 PM
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17