Page 19 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 19

•   บังคับใช้ระบบการแจ้งผู้ถูกคุมขังทราบสามประการ คือ  แจ้งให้ทราบถึงเหตุผลที่ถูกคุมขัง (ทันที) : แจ้ง

                    ข้อกล่าวหาที่ผู้ถูกคุมขังได้รับ (โดยพลัน) : แจ้งเรื่องสิทธิของผู้ถูกคุมขัง (สองครั้ง : ครั้งที่หนึ่ง พร้อมกับ
                    การแจ้งถึงเหตุผลที่ถูกคุมขัง และครั้งที่สอง พร้อมกับการแจ้งข้อกล่าวหา)
                  •   ในการมอบหมายงาน จัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อกำกับดูแลผู้ถูกคุมขัง แยกเป็นอิสระจากเจ้าหน้าที่ที่ทำ

                    การจับกุม และเจ้าหน้าที่ที่ทำการสืบสวนสอบสวน
                  •   ปรึกษาหารือกับอัยการ ผู้พิพากษา เจ้าพนักงานสืบสวนสอบสวน และนักสังคมสงเคราะห์เป็นครั้งคราว

                    เพื่อช่วยระบุตัวบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องถูกคุมขังอีกต่อไป
                  •   มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สตรีปฏิบัติหน้าที่คุ้มครอง ตรวจค้น และกำกับดูแลผู้ถูกคุมขังหญิง ห้ามเจ้าหน้าที่
                    ชายเข้าไปในเขตคุมขังหญิง ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน

                  •   จัดห้องพิเศษแยกต่างหากจากบริเวณญาติเยี่ยม สำหรับให้ผู้ถูกคุมขังพบกับที่ปรึกษากฎหมายเป็นการ
                    ส่วนตัว

                  •   จัดพื้นที่สำหรับการพบปะสนทนา สำหรับการเยี่ยมญาติตามปกติแบบเห็นหน้าเห็นตากัน ประกอบด้วย
                    ลูกกรง โต๊ะ หรือสิ่งที่เป็นเสมือนฉากกั้นระหว่างผู้มาเยี่ยมกับผู้ถูกคุมขัง
                  •   ห้ามการกระทำทุกประการอันเป็นการทรมาน หรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม

                    หรือย่ำยีศักดิ์ศรีอย่างเด็ดขาด โดยหากมีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจะต้องทำการสอบสวนโดยทันทีและ
                    ลงโทษสถานหนัก

                  •   จัดอาหารให้เพียงพอกับความต้องการด้านโภชนาการตามเวลาปกติ โดยระหว่างมื้อเช้า และมื้อเย็น
                    ต้องห่างกันไม่เกินสิบห้าชั่วโมง
                  •   แต่งตั้งเจ้าหน้าที่อย่างน้อยหนึ่งคน ซึ่งได้รับการฝึกอบรมด้านการดูแลทางจิตวิทยาและการให้คำปรึกษา

                    รวมทั้งการป้องกันการฆ่าตัวตาย อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา
                  •   ทำการประเมินผู้ถูกคุมขังแรกรับทุกคน เพื่อตรวจหาสัญญาณบอกเหตุของการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ

                    การเสพติดสุรา หรือการเสพติดยา และการป่วยทางจิต
                  •   จัดการกับเรื่องเล็กน้อยด้านวินัยด้วยความรอบคอบเป็นกิจวัตร จัดการกับเรื่องที่ร้ายแรงกว่าตาม
                    กระบวนการที่จัดทำไว้แล้ว ซึ่งต้องอธิบายถึงกระบวนการดังกล่าวแก่ผู้ถูกคุมขังแรกรับทุกคน

                  •   เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่สถานคุมขัง ไม่ควรพกพาอาวุธปืน ยกเว้นในกรณีขนย้ายผู้ถูกคุมขังออกไป
                    ภายนอกสถานคุมขัง

                  •   ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ถูกมอบหมายให้ปฏิบัติงานในพื้นที่สถานคุมขัง เกี่ยวกับวิธีควบคุมที่ไม่เป็น
                    อันตรายถึงแก่ชีวิต การใช้เทคนิค  และเครื่องมือในการควบคุมการจลาจล
                  •   เจ้าหน้าที่ในสถานคุมขังทุกคนจะต้องติดตราเครื่องหมายประจำตัวที่มองเห็นได้เด่นชัด เพื่อความสะดวก

                    ในการรายงานได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่เกิดเหตุละเมิดกฎ
                  •   สร้างความสัมพันธ์อันดีกับคณะกรรมการกาชาดสากล (ICRC) และกับองค์กรอื่นๆ ที่คล้ายกันนี้

                  •   จัดทำและประกาศมาตรการในการลงโทษที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำความผิด เริ่มตั้งแต่
                    การพักงาน การตัดเงินเดือน และการไล่ออก จนถึงขั้นการดำเนินคดีอาญาในกรณีที่เป็นการกระทำความผิด
                    อย่างร้ายแรง










                                                                                                          17
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24