Page 14 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 14

•   การทรมานและการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม หรือการปฏิบัติที่เป็นการย่ำยีศักดิ์ศรี จะกระทำมิได้เป็น

                  อันขาด
                •   ผู้เสียหายและพยาน ต้องได้รับการปฏิบัติด้วยความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจ
                •   ในการดำเนินการกับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน จะต้องคำนึงถึงการรักษาความลับด้วยความระมัดระวัง

                  ตลอดเวลา
                •   บุคคลต้องไม่ถูกบีบบังคับให้สารภาพหรือให้การอันเป็นปรปักษ์ต่อตนเอง

                •   การดำเนินการสืบสวนสอบสวน จะต้องกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อมีเหตุอันควร
                •   การดำเนินการสืบสวนสอบสวนที่กระทำโดยพลการและเกินกว่าเหตุ  จะกระทำมิได้
                •   การสืบสวนสอบสวนจะต้องกระทำอย่างเต็มความสามารถ ละเอียดถี่ถ้วน โดยทันที และปราศจากอคติ

                •   ในการสืบสวนสอบสวน ต้องดำเนินการในเรื่อง การระบุตัวผู้เสียหาย การค้นหาและรวบรวมพยาน
                  หลักฐาน สาเหตุ และวิธีการกระทำ สถานที่และเวลาที่เกิดเหตุ ระบุตัวและจับกุมตัวผู้กระทำความผิด

                •   การตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ รวมทั้งการเก็บรวบรวมและการเก็บรักษาพยานหลักฐาน จะต้องดำเนินการ
                  อย่างรอบคอบระมัดระวัง


                การปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน


           เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคน

                •   พัฒนาวิธีปฏิบัติที่ได้มาตรฐานสำหรับการบันทึกข้อมูลในระหว่างการสืบสวนสอบสวน
                •   เมื่อมีความสงสัยเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในการสืบสวนสอบสวน ถ้าเป็นไปได้ ก่อนจะดำเนินการ

                  ให้สอบถามผู้บังคับบัญชา
                •   ต้องปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยทุกคนเสมือนเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยต้องมีความสุภาพ ให้เกียรติ และมีความเป็น
                  มืออาชีพ

                •   ในการสอบปากคำทุกครั้ง จะต้องมีการเก็บบันทึกข้อมูลรายละเอียด
                •   เข้ารับการฝึกอบรมในระหว่างประจำการ เพื่อเพิ่มพูนทักษะความชำนาญในการสืบสวนสอบสวน

                •   ก่อนสอบสวนผู้เสียหาย พยานหรือผู้ต้องสงสัย จะต้องแจ้งให้ทราบถึงสิทธิของบุคคลเหล่านั้นเสมอ
                •   ก่อนจะเริ่มสืบสวนสอบสวนคดีใดๆ ให้ถามตัวเองว่า “ถูกกฎหมายหรือไม่?” “นำไปใช้ในศาลได้ไหม?”
                  “จำเป็นหรือไม่?”  “เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุหรือไม่?”

                •   ต้องไม่แสวงหาหรืออาศัยคำสารภาพเพื่อใช้เป็นมูลฐานของคดี เพราะว่าความมุ่งหมายของการสืบสวน
                  สอบสวน คือการรวบรวมเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่ครบถ้วน

                •   โดยหลักการค้น จะต้องมีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลเสมอ เว้นแต่เป็นกรณีที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย
                  หรือคำสั่งของศาล  เช่น  ระหว่างการจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเมื่อได้รับความยินยอม หรือการที่
                  จะได้มาซึ่งหมายค้นไม่สามารถกระทำได้ในสถานการณ์ขณะนั้น

                •   รู้จักชุมชนที่ตนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ พัฒนายุทธศาสตร์เชิงรุกในการป้องกันอาชญากรรม
                  รวมถึงการรับรู้ถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ในชุมชนนั้น









            12
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19