Page 2 - แผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570
P. 2

ยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในช่วงปี พ.ศ. 2566 - 2570


                                                      ความเป็นมา

                       คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นกลไกการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
               ระดับประเทศที่มีหน้าที่และอ านาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และ

               พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ซึ่งก าหนดที่มา

               สถานะ บทบาทหน้าที่ และแนวทางการด าเนินงานขององค์กรที่สอดคล้องกับแนวทางและมาตรฐานเกี่ยวกับ
               คุณลักษณะและบทบาทที่พึงมีของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามหลักการว่าด้วยสถานะของสถาบัน

               สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Principle Relating to the Status of
               National Institution for the Promotion and Protection of Human Rights) หรือหลักการปารีส (Paris

               Principles) นอกจากนี้ในระดับสากลยังถือได้ว่า กสม. เป็นกลไกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

               ระดับประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับกลไกของสหประชาชาติ คือ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Human Rights
               Council) และกลไกระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนฉบับต่าง ๆ

                       ในการด าเนินงานตามหน้าที่และอ านาจของ กสม. ที่ผ่านมา ได้มีการจัดท ายุทธศาสตร์ กสม.
               ปี พ.ศ. 2545 - 2550 ปี พ.ศ. 2554 - 2559 และ ปี พ.ศ. 2560 - 2565 โดยยุทธศาสตร์แต่ละฉบับได้พัฒนาขึ้น

               โดยพิจารณาบนฐานการวิเคราะห์สภาพปัญหาและข้อจ ากัดในการด าเนินงานของ กสม. ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น

               แล้วน ามาใช้ประกอบการก าหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การด าเนินงานของ กสม. ให้มีความชัดเจน สามารถ
               แก้ไขปัญหาและข้อจ ากัดดังกล่าว รวมทั้งก าหนดแนวทางการด าเนินงานของ กสม. ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

               ประสิทธิผล และบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวิสัยทัศน์ขององค์กรในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                       การด าเนินงานตามหน้าที่และอ านาจของ กสม. ที่ผ่านมา แม้จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวิสัยทัศน์ของ
               องค์กรในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่ก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ

               ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นพลวัต ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ

               และสิ่งแวดล้อม ด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี อันส่งผลท าให้เกิดสถานการณ์หรือประเด็นสิทธิมนุษยชน
               ที่เกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการก าหนด

               ทิศทางการพัฒนาประเทศ และการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่ส่งผลต่อการด าเนินงานของ กสม.
               อีกหลายประการ เช่น การประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนการปฏิรูปประเทศ

               แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่มุ่งเน้นเรื่อง
               ความสงบเรียบร้อยของประเทศ ความสงบสุขและความเป็นธรรมในสังคม คุณภาพชีวิตที่ดีและการมีส่วนร่วม

               ในการพัฒนาประเทศซึ่งครอบคลุมภารกิจของทุกส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐทุกประเภท และองค์กรอิสระ

               ตามรัฐธรรมนูญ รวมถึง กสม. ด้วย ท าให้การจัดท ายุทธศาสตร์ของ กสม. จ าเป็นต้องค านึงถึงความสอดคล้อง
               กับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวประกอบด้วย และเมื่อพิจารณายุทธศาสตร์ กสม. พ.ศ. 2560 - 2565

               ซึ่งประกาศใช้ก่อนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กสม. พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ ประกอบด้วย 5

               ยุทธศาสตร์ จะเห็นได้ว่ายังไม่ครอบคลุมหน้าที่และอ านาจบางประการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ




                                                            1
   1   2   3   4   5   6   7