Page 7 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2563
P. 7

หน่วยงานสนับสนุนการดำาเนินงานของ กสม. ได้รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงจากแหล่งต่าง ๆ
               ทั้งจากแหล่งข้อมูลเปิดทั่วไป จากการทำางานของ กสม. เอง ทั้งในส่วนข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ
               และแถลงการณ์ของ กสม. ต่อเหตุการณ์สำาคัญที่เกิดขึ้นระหว่างปี ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กร

               ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ การสัมมนาเวทีต่าง ๆ และจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นและ
               ข้อมูลสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพื้นที่ จากนั้นจึงนำาข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาประมวลเป็นสถานการณ์
               และทำาการประเมินโดยวิเคราะห์ว่า จากเหตุการณ์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รัฐได้เคารพและ

               คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ กฎหมายภายในประเทศ
               สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
               สากลหรือไม่อย่างไร จากนั้นจึงจัดทำาเป็นรายงานโดยสรุปประกอบด้วยสถานการณ์สิทธิ
               ในแต่ละด้าน บทประเมินสถานการณ์ และข้อเสนอแนะ

                      ในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ มีบทที่นำาเสนอสถานการณ์
               ในปี 2563 ที่สำาคัญ 2 เหตุการณ์ คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และสถานการณ์

               การชุมนุมทางการเมือง ดังปรากฏในบทที่ 2 ส่วนเนื้อหาส่วนที่เหลือได้แบ่งการนำาเสนอเป็น 3 ส่วน
               ได้แก่ สิทธิตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) สิทธิตาม
               กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) และสิทธิของ
               กลุ่มเฉพาะ ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ สตรีและความเสมอภาคระหว่างเพศ และผู้มีปัญหา

               สถานะและสิทธิ ดังปรากฏในบทที่ 3 4 และ 5 ตามลำาดับ กสม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดทำา
               รายงานฉบับนี้จะทำาให้รัฐบาล สมาชิกรัฐสภา และประชาชน ได้รับทราบทั้งความคืบหน้า
               ในการดำาเนินการต่าง ๆ ของรัฐในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดจนปัญหา
               และความท้าทายที่พบในปี 2563 และข้อมูลในรายงานฉบับนี้จะช่วยให้รัฐพิจารณาทบทวน

               สถานการณ์และปัญหาสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัจจัย
               ที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิของประชาชน รวมทั้งหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลใน
               การคุ้มครองประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มได้เข้าถึงและใช้สิทธิได้อย่างแท้จริง
               ในโอกาสนี้ กสม. ขอขอบคุณหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม ภาควิชาการทุกแห่ง

               ที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
               ต่อการจัดทำารายงานฉบับนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือด้วยดีในโอกาสต่อไป




                                                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                   H           U           M          A         N
                                                                  ธันวาคม 2563
                                       R             I            G           H          T         S
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12