Page 6 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2563
P. 6

คำานำา







                                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยบทบัญญัติ
                            ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีบทบาทหน้าที่สอดคล้องกับสถาบัน
                            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามหลักการว่าด้วยสถานะของสถาบันแห่งชาติเพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง

                            สิทธิมนุษยชน หรือหลักการปารีส ที่ได้รับการรับรองโดยมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
                            เมื่อเดือนธันวาคม 2536 สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามหลักการปารีสมีหน้าที่ในการเสนอ
                            ความเห็น คำาแนะนำา ข้อเสนอแนะ หรือรายงานในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครอง

                            สิทธิมนุษยชนต่อรัฐบาล รัฐสภา หรือองค์กรที่มีอำานาจหน้าที่ในลักษณะของการให้คำาปรึกษา
                            ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้
                            สถาบันสิทธิมนุษยชนยังมีบทบาทในการร่วมมือกับกลไกของสหประชาชาติ  และสถาบัน
                            สิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคและระดับชาติของประเทศอื่น  ๆ  รวมถึงการเผยแพร่และ
                            สร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนผ่านการให้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษา และผ่านสื่อต่าง ๆ

                            และในการทำาหน้าที่ดังกล่าว สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอิสระในการพิจารณาเรื่องใด ๆ
                            ที่อยู่ในขอบเขตอำานาจหน้าที่ได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากหน่วยงานใด และสามารถรับฟัง
                            ข้อมูลจากบุคคลหรือขอเอกสารที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ๆ ได้

                                      การจัดทำารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศเป็นหน้าที่สำาคัญประการหนึ่ง
                            ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามหลักการปารีส ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำาเสนอข้อมูล

                            เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศให้รัฐบาลได้รับทราบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                            สถานการณ์หรือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น  โดยสถาบัน
                            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจให้ข้อคิดเห็นต่อการดำาเนินการของรัฐบาลในเรื่องนั้นและเสนอแนวทาง
                            ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้น การจัดทำารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน

                            ประจำาปีของ กสม. จึงเป็นการทำาหน้าที่ที่สอดคล้องกับหลักการปารีส รวมทั้งยังเป็นไปตามหน้าที่
                            และอำานาจที่กำาหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 247 (2)
                            และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
                            มาตรา 26 (2) ประกอบมาตรา 33 มาตรา 40 และมาตรา 44 ที่บัญญัติให้ กสม. เฝ้าระวังและ

                            ติดตามเหตุการณ์หรือสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศอย่างต่อเนื่อง และให้จัดทำารายงาน
                            ดังกล่าวเป็นประจำาทุกปีให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินเพื่อเสนอต่อรัฐสภาและ
                            คณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน การจัดทำารายงานให้ทำาแบบสรุปและให้มีเนื้อหาอย่างน้อย
                            ประกอบด้วยปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยต้อง

                            คำานึงถึงความถูกต้อง เป็นธรรม และผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นสำาคัญ และให้หน่วยงานของ
                            รัฐให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อประกอบการจัดทำารายงาน
                            ตามที่ กสม. ร้องขอด้วย

                                    รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยฉบับนี้ จัดทำาขึ้น
                            จากกระบวนการติดตามเหตุการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศในช่วงระยะเวลาระหว่าง

                            เดือนมกราคม - ธันวาคม 2563 โดยสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในฐานะ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11