Page 3 - หลักสูตรธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับรัฐวิสาหกิจ
P. 3

และได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อศักยภาพและโอกาสในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตรในประเด็นบรรษัท

                 ข้ามชาติ (Transnational Corporations – TNCs) ที่มีรูปแบบในการประกอบธุรกิจอันหลากหลาย เช่น บริษัทย่อย (Subsidiaries) การร่วมทุน (joint ventures) การรับเหมา
                 (Contractors) การใช้ตัวแทนจ าหน่าย (suppliers) ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) จ านวนมาก อันมีโอกาสต่อการท าธุรกิจที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                 ทั้งในประเด็นการจ้างงาน สิ่งแวดล้อม และการรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ  ดังนั้นการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจที่ดีและสร้างความชัดเจนตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงแนวทางปฏิบัติ
                 ขององค์กรโดยค านึงถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศเป็นอย่างยิ่งขณะที่การบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพและสุ่มเสี่ยงต่อการ

                 ละเมิดสิทธิมนุษยชน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างอย่างร้ายแรงได้เช่นกัน

                                ดังนั้น การขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ในภาครัฐวิสาหกิจจึงเป็นแนวทางส าคัญที่จะช่วย

                 ป้องกัน แก้ไข และบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอันอาจเกิดจากการประกอบธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชนในวงกว้าง ทั้งยังส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่น
                 ต่อการค้าและการลงทุนในระดับประเทศและภูมิภาค และเป็นส่วนส าคัญในการส่งเสริมการค้าและการพัฒนาทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ดังนั้น

                 หลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนส าหรับรัฐวิสาหกิจ จึงถือเป็นการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในด้าน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เสริมสร้างและพัฒนา
                 กระบวนการเรียนรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
                 ให้แก่บุคลากรของรัฐวิสาหกิจไทยต่อไป


                         2. วัตถุประสงค์

                            2.1  เพื่อส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจในประเทศไทยเห็นประโยชน์ ตระหนักถึงความส าคัญ และเป็นต้นแบบในการด าเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน


                            2.2 เพื่อให้ความรู้แก่รัฐวิสาหกิจในประเทศไทยในวิธีการน าหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ไปด าเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

                            2.3 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการจัดท าแนวนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และ

                 หลักการเยียวยาในการท าธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และการน าไปปรับประยุกต์ใช้ในองค์กรให้แก่หน่วยรัฐวิสาหกิจที่เข้าอบรม

                            2.4 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวทางและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องการท างานด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในภาครัฐวิสาหกิจ


                            2.5 เพื่อให้เกิดแนวทางการสร้างเครือข่ายรัฐวิสาหกิจต้นแบบของประเทศไทยในการท าธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งสามารถติดตามและประเมินผลตลอดจนมี
                 การพัฒนาแนวทาง องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องการท างานด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนร่วมกันอย่างเป็นระบบ

                        3. กลุ่มเป้ำหมำย


                            3.1 ผู้แทนจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสาขาต่าง ๆ
   1   2   3   4   5   6   7   8