Page 2 - หลักสูตรธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับรัฐวิสาหกิจ
P. 2

1. ควำมเป็นมำ

                                การประกอบธุรกิจโดยเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น นอกจากจะท าให้ธุรกิจเป็นที่ยอมรับแล้วยังเป็นโอกาสน าประเทศสู่การพัฒนาที่

                 ยั่งยืน เพราะธุรกิจคือพลังขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และสิทธิมนุษยชนคือ การดูแลคนทุกคนให้สามารถด ารงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความ
                 ปลอดภัยในชีวิต มีมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสม มีโอกาสเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการของรัฐ และได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม ดังนั้น ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนก็คือการสร้าง

                 ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม จากความส าคัญดังกล่าว องค์การสหประชาชาติจึงได้มีการรับรองเอกสารหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิ
                 มนุษยชนส าหรับธุรกิจ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights – UNGP) ตามกรอบงานของสหประชาชาติ ในการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา ที่เกิดขึ้น

                 บน 3 เสาหลักคือ ให้รัฐมีหน้าที่ในการ ‘คุ้มครอง’ ประชาชน (State Duty to Protect) จากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กระท าโดยบุคคลรวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ ให้ภาคธุรกิจ
                 ‘เคารพ’ ในหลักสิทธิมนุษยชน (Corporate Responsibility to Respect) ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจระดับใดก็ตาม และการเข้าถึง “การเยียวยา” (Access to Effective Remedy)
                 ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนต้องเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิผลได้มากขึ้น  ซึ่งประเทศไทยเองได้ให้ค ามั่นต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในการพิจารณา

                 สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ว่าจะด าเนินการจัดท าแผนปฏิบัติการระดับชาติเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และแสดงให้เห็นโดยประจักษ์ใน
                 การร่วมลงนามปฏิญญาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNGPs) ในภาคีเครือข่าย 8 องค์กร ประกอบด้วย

                 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่ง
                 ประเทศไทย และเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560  ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์

                 จันทร์โอชา  เป็นสักขีพยานในการลงนาม เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและพลังของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่มีความพร้อมในการสามารถด าเนินธุรกิจควบคู่
                 ไปกับการเคารพสิทธิมนุษยชน  เพื่อร่วมกันน าประเทศไปสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”


                            ในภาครัฐนั้นถือว่าหลักการรัฐวิสาหกิจ (State - owned enterprises; SOEs) เป็นกลไกส าคัญของรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ รวมถึง
                 เป็นผู้ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ไม่เพียงแต่ในระดับประเทศเท่านั้น รัฐวิสาหกิจยังมีความส าคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจโลก เนื่องจากรัฐวิสาหกิจของประเทศต่าง ๆ ได้

                 ด าเนินการทั้งภายในประเทศและนอกประเทศในภาคอุตสาหกรรมที่ส าคัญและเกี่ยวข้องต่อปัจจัยในการด ารงชีวิตของประชาชนในปัจจุบันแทบทั้งสิ้น อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน การ
                 ขนส่งคมนาคม พลังงาน การสื่อสารโทรคมนาคม และการธนาคาร ฯลฯ

                            จากข้อมูลพบว่าปัจจุบันรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยมีจ านวนรวมทั้งสิ้น 56 แห่ง มีมูลค่าทรัพย์สินรวมประมาณ 6 ล้านล้านบาท และรัฐวิสาหกิจยังสามารถสร้าง

                                                                                                   1
                 รายได้ให้แก่ประเทศรวมประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท และท าก าไรได้รวมประมาณ 2.3 แสนล้านบาท  อันเป็นตัวเลขมหาศาลในระบบเศรษฐกิจ การด าเนินงานของรัฐวิสาหกิจจึง
                 เป็นหนึ่งในปัจจัยส าคัญต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทย  ขณะที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสถานการณ์ด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยเป็นที่จับตามอง



                            1  ส านักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, การพัฒนาและการก ากับดูแลรัฐวิสาหกิจ, http://www.sepo.go.th/content/67
   1   2   3   4   5   6   7