Page 7 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 7

ค�าน�า







                                               หลักการปารีส (Paris Principles) ได้ก�าหนดบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชน
                           Introduction
                                      แห่งชาติที่ส�าคัญไว้อย่างน้อย ๕ ประเด็น กล่าวคือ (๑) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                      (protection function) และการท�างานกึ่งตุลาการ (quasi-judicial function)

                                      (๒) การให้ค�าปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชน (advisory function) (๓) การเฝ้าระวัง
                                      สถานการณ์สิทธิมนุษยชน  (monitoring  function)  (๔)  การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
                                      (promotional function) และ (๕) การท�างานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและองค์กรอื่น ๆ

                                      ทั้งในและต่างประเทศ (relationship with stakeholders and other bodies)
                                      ประกอบกับตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒
                                      มาตรา ๑๕ (๖) ก�าหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ต้องจัดท�ารายงานประจ�าปี
                                      เพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ น�าเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
                                      พร้อมทั้งเปิดเผยต่อสาธารณชน



                                               ในการจัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของ
                                      ประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ กสม. ได้ประมวลข้อมูลสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
                                      จากเหตุการณ์ สถานการณ์ ข้อเท็จจริง รายงานการติดตามตรวจสอบกรณีร้องเรียน

                                      สถิติข้อมูลจากหน่วยงานและองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริมและคุ้มครอง
                                      สิทธิมนุษยชนหลากหลายแห่ง ตลอดจนการด�าเนินการด้านนโยบาย แผนงาน และแนวทาง
                                      การปฏิบัติงานของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการพัฒนา การปฏิรูป
                                      สังคมและการเมืองของประเทศไทย น�ามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ด้าน
                                      สิทธิมนุษยชนที่ส�าคัญที่อาจมีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

                                      กฎหมายภายในอื่น ๆ รวมทั้งพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
                                      มาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งค�ามั่นสัญญาต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้
                                      ต่อประชาคมระหว่างประเทศ พิจารณาถึงความก้าวหน้าและความถดถอยของสถานการณ์

                                      รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนฯ จะน�าเสนอสถานการณ์โดยจ�าแนก
                                      ออกเป็น ๔ สถานการณ์หลัก ประกอบด้วย (๑) สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                                      ทางการเมือง (๒) สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (๓)
                                      สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ และ (๔) สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ



                                               กสม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเสนอรายงานผลการประเมินสถานการณ์
                                      ด้านสิทธิมนุษยชนฯ ฉบับนี้ จะมีผลต่อการพิจารณาทบทวน แก้ไขปัญหาของประเทศ
                                      และสร้างเสริมสังคมให้เกิดความตระหนักรู้ และความเข้าใจสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น

                                      เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยต่อไป




                                                                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                                                  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12