Page 10 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 10

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


            กับการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิมนุษยชน





                     กว่า ๗๐ ปีแห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงให้ความส�าคัญต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน

            ของประชาชนในทุก ๆ ด้าน เริ่มตั้งแต่สิทธิทางการศึกษา พระองค์ท่านไม่เพียงแต่พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงเรียน
            จิตรลดา ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์ในเขตพระราชฐานที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าเรียนแล้ว ยังพระราชทานพระราชทรัพย์
            ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลหลายแห่ง ทรงจัดตั้ง “โรงเรียนพระดาบส” ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อจัดการการศึกษา
            ให้กับบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะผู้ยากจนและทุพพลภาพได้มีโอกาสฝึกอาชีพ  ทรงโปรดฯ ให้ฟื้นฟูการพระราชทานทุนเล่าเรียน

            หลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มไว้ ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ “ทุนอานันทมหิดล” ให้แก่เยาวชนไทย
            ที่เรียนดี ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศเพื่อน�าความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมือง


                     นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยังมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
            ให้มีการจัดท�า “สารานุกรมไทย” ส�าหรับเยาวชน ซึ่งรวบรวมความรู้ทั่วไปที่เหมาะสมแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปขึ้น โดยมี

            พระราชด�าริให้แบ่งการจัดท�าเนื้อหาของสารานุกรมออกเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ สารานุกรมส�าหรับเด็กอายุต�่ากว่า ๑๐ ขวบ
            ส�าหรับเด็ก ๑๐ – ๑๕ ปี และส�าหรับเด็กอายุ ๑๖ ปีขึ้นไป เพื่อให้เยาวชนไทยได้มีแหล่งความรู้ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
            และเหมาะสมกับช่วงพัฒนาการของวัย



                     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเล็งเห็นถึงความจ�าเป็นในสิทธิท�ากินของราษฎร โดยเฉพาะ
            ราษฎรในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร ซึ่งมีความเป็นอยู่ที่ยากล�าบาก ความจ�าเป็นที่จะลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการปลูกฝิ่น
            อันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ จึงทรงพระราชทานความรู้ในการปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวให้แก่ชาวเขา และ
            ทรงจัดตั้งมูลนิธิโครงการหลวงขึ้นเพื่อดูแลโครงการดังกล่าว ด้วยพระปรีชาสามารถ จึงท�าให้ปริมาณการปลูกฝิ่นในพื้นที่

            ภาคเหนือลดลงได้ถึงร้อยละ ๘๕ ชาวเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถน�าผลผลิตขายออกสู่ตลาดได้อย่างกว้างขวางจนพากัน
            ถวายพระราชสมัญญาของพระองค์ท่านว่า “เจ้าพ่อหลวง” และในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ โครงการหลวงยังได้รับรางวัลรามอน
            แมกไซไซ สาขาความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศด้วย



                     เพื่อสร้างสิทธิความเป็นอยู่เท่าเทียมกัน ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ไม่นานนัก พระบาทสมเด็จ
            พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้ชาวไทยทุกกลุ่มทุกระดับมีความเป็นอยู่
            ที่พอดีสามารถพึ่งพาตนเองได้ ท่ามกลางวิกฤตทางการเงินและผลกระทบจากระบบทุนนิยมเสรี ดังเคยมีพระราชด�ารัสแก่คณะบุคคล
            ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ว่า



                     “...ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป
            แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอ�าเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้

            แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...” (๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐)


                     “…ค�าว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่มีในต�ารา... ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ
            ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระท�า... พอเพียงแปลว่า Self-sufficiency (พึ่งตนเอง)
            พอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า Self-sufficiency คือ หมายความว่า ผลิตอะไรที่มีพอใช้

            ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตัวเอง ....” (๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑)


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  9  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15