Page 5 - สิทธิในชีวิต
P. 5

หนังสือเล่มนี้ได้นำาหลักการ และเนื้อหาจากมาตราต่างๆ ในกติการะหว่าง
          ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant
          on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR) ซึ่งได้รับการรับรอง

          จากสมัชชาองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1966 โดยมีผลบังคับใช้
          เมื่อวันที่ 3 มกราคม 1976 มาอธิบาย  ตีความให้เข้าใจง่ายๆ และยกตัวอย่าง
          จากเหตุการณ์และสถานการณ์จริงที่กติการะหว่างประเทศฉบับนี้ถูกละเมิด
          ในทางปฏิบัติ และในทางโครงสร้างของสังคม
                 กติการะหว่างประเทศนี้มีทั้งหมด 31 มาตรา ประเทศไทยให้สัตยบรรณ

          เมื่อ 5 ธันวาคม 2542 (1999)
                 ความสำาคัญของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
          และวัฒนธรรม คือ การระบุไว้อย่างชัดเจนถึง “พันธะ” และ “ภ�ระหน้�ที่”

          ของรัฐที่ต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้มากที่สุด เพื่อมารังสรรค์ให้สิทธิต่างๆ
          ที่กล่าวไว้ในกติกานี้ได้รับการเคารพ  ก่อเกิดผลเป็นจริงอย่างเป็นขั้นตอน รวมทั้ง
          การออกกฏหมายมารองรับด้วย มีหลายประเทศได้นำามาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ
          เช่น ประเทศเวเนซูเอลลา และโบลิเวีย



                 ผมขอขอบคุณ คุณปริญญ� ศิริส�รก�ร  และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
          แห่งชาติทั้งคณะ และคุณภิรมย์ ศรีประเสริฐ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
          แห่งชาติ  คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม

          และวัฒนธรรม ที่ให้การสนับสนุนในการพิมพ์หนังสือเล่มนี้เป็นครั้งที่ 3  โดยหวังว่า
          หนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือในการทำางานเพื่อส่งเสริม (Promotion)   ปกป้องคุ้มครอง
          (Protection) และ รังสรรค์ (Fullfillment) สิทธิมนุษยชนอย่างไม่เลือกปฏิบัติ
          ในสังคมไทยตามกติการะหว่างประเทศฉบับนี้


                                           กมล กมลตระกูล

                                     อนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์
                                 ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
                                            กรกฎาคม 2558
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10