Page 9 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 9

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 7







                     อำานาจหน้าที่ของกลไกเหล่านี้ในระดับสากลและภูมิภาค รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับรัฐเพื่อประกันให้

                     มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อีกทั้งในบทนี้ยังเน้นบทบาทของภาคประชาสังคมในการ
                     ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิผ่านการใช้กลไกติดตามตรวจสอบสิทธิมนุษยชนดังกล่าว

                            บทที่ ๓ “สิทธิและพันธกรณี (Rights and Obligations)” อธิบายขอบเขตและเนื้อหาของ
                     สิทธิต่างๆ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ลักษณะของความ

                     สัมพันธ์ระหว่างพันธกรณีของรัฐ รวมถึงแหล่งที่บัญญัติสิทธิต่างๆในกฎหมายระดับชาติ นานาชาติ

                     และภูมิภาค ตัวอย่างคำาพิพากษาของศาลในระดับชาติและกลไกระดับนานาชาติที่ได้บ่งชี้ความหมาย
                     ของสิทธิ  นอกจากนี้ยังยกเนื้อหาของรายงานและแถลงการณ์สิทธิมนุษยชน องค์กรภาคประชา
                     สังคมในประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศที่ช่วยทำาให้ความหมายของแต่ละสิทธิที่บัญญัติไว้ตาม

                     รัฐธรรมนูญชัดเจนมากขึ้น รวมถึงเป็นการแสดงให้รัฐเห็นว่า รัฐควรดำาเนินขั้นตอนที่ทำาให้ประชาชน

                     สามารถเข้าถึงสิทธิและได้ใช้สิทธิอย่างเต็มที่
                            บทที่ ๔ “การสืบค้นข้อเท็จจริงและการบันทึกข้อมูล” มีเนื้อหาที่จำาแนกหลักการที่เกี่ยวข้อง

                     กับการติดตามตรวจสอบสิทธิมนุษยชน ทั้งการสืบค้นข้อเท็จจริง การรวบรวมข้อมูล และการเขียน
                     รายงานด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังได้แสดงตัวอย่างการใช้กรอบแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนไปใช้

                     ในการประเมินประสิทธิผลของสิทธิมนุษยชนด้วย

                            บทที่ ๕ “แหล่งข้อมูลด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง” เป็นแหล่งข้อมูลจากเวปไซด์
                     ที่เกี่ยวข้องในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติทางด้านสิทธิมนุษยชน

                            บทที่ ๖ “องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย” ในบทนี้ได้รวบรวมองค์กรที่ทำางาน

                     ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และบางส่วนเป็นองค์กรที่ลงทะเบียนกับคณะกรรมการสิทธิ
                     มนุษยชนแห่งชาติ

                            เนื้อหาของหนังสือส่วนใหญ่มาจาก หนังสือ “สิทธิของเรา สิทธิมนุษยชน” ของสถาบันสิทธิ
                     มนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Institute for Human Rights : AIHR) ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งใน

                     หนังสือของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียนั้นมีเนื้อหาครอบคลุมสิทธิที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามปฏิญญา

                     สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  อย่างไรก็ตาม หนังสือคู่มือการทำาความเข้าใจเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                     ทางการเมืองนี้จะมุ่งเน้นการอธิบายสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ลึกซึ้งขึ้น โดยยกตัวอย่าง
                     กรณีศึกษาประกอบเนื้อหาในบางสิทธิที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเพิ่มเติมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกลไกติดตาม

                     ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มุ่งหวังให้ผู้อ่านมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ

                     สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รวมถึงหลักในการตีความหมายของสิทธิประเภทต่างๆ ที่รับรองไว้
                     ในกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน
                     ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้นำาเนื้อหาสาระดังกล่าวไปใช้ในการทำางานต่อไป
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14