Page 8 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 8

6 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง









                                          คำ�แนะนำ�ก�รใช้หนังสือ







                         ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๔๘ มีการประกาศใช้ “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ก็ได้มีการศึกษา

                  และอธิบายความหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างลึกซึ้งขึ้น และพัฒนามาเป็นกฎหมายสิทธิ

                  มนุษยชนระหว่างประเทศ  สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเข้าใจในพันธกรณีของรัฐในมิติสิทธิมนุษยชน
                  ทั้งการเคารพ (respect) การคุ้มครอง (protect) และการทำาให้สิทธิเป็นจริง (fulfill) ซึ่งได้บัญญัติไว้
                  ในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และแนวนโยบายแห่งรัฐ

                         สำาหรับผู้ที่ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนมีความจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าใจขอบเขตและเนื้อหา

                  สาระของแต่ละสิทธิ รวมถึงการนำาสิทธิเหล่านั้นไปปรับประยุต์ใช้ เพื่อการปกป้องคุ้มครองประชาชน
                  ในระดับรากหญ้าและระดับประเทศ

                         หนังสือคู่มือเล่มนี้จึงมีเนื้อหามุ่งเน้น การทำาความเข้าใจเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง

                  การเมืองโดยเฉพาะ รายละเอียดปรากฏในแต่ละบท ดังต่อไปนี้

                         บทที่ ๑ “ตอบข้อสงสัยเรื่องสิทธิมนุษยชน” ได้กล่าวถึง แนวคิดและหลักการพื้นฐานด้าน
                  สิทธิมนุษยชน และพยายามขยายความเนื้อหา กำาหนดนิยามของสิทธิมนุษยชน และหลักการ

                  ความเป็นสากล จำาแนกความแตกต่างระหว่างความจำาเป็น สิทธิและความต้องการ สิทธิประเภท
                  ต่างๆ และความไม่อาจแบ่งแยกได้ของสิทธิ แนวคิดเกี่ยวกับพันธกรณี กฎหมายซึ่งเป็นที่มาของ

                  สิทธิและพันธกรณี ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รัฐ และสังคม ความเชื่อมโยงระหว่างหลักนิติธรรม
                  ประชาธิปไตย แนวคิดเรื่องอำานาจ สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ นิยามของกรอบด้านสิทธิ วิธีการนำา

                  กฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ในประเทศ และหลักการซึ่งเป็นพื้นฐานของแนวทางการทำางานตาม
                  หลักสิทธิมนุษยชน

                         บทที่ ๒ “กลไกการติดตามตรวจสอบสิทธิมนุษยชน : ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับ

                  นานาชาติ” ให้ความสำาคัญกับกลไกเพื่อบังคับใช้และติดตามปัญหาสิทธิมนุษยชน รัฐมีความรับผิดชอบ
                  หลักในการประกันว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ภายใต้กฎหมาย สามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนของตน แม้ว่า
                  ความรับผิดชอบดังกล่าวจะเป็นความรับผิดชอบที่เท่าเทียมกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร

                  และฝ่ายตุลาการ  แต่ในบทนี้จะเน้นถึงบทบาทของฝ่ายตุลาการและกลไกอิสระอื่นๆ ที่จัดตั้งขึ้นตาม

                  รัฐธรรมนูญเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  อีกทั้งได้อ้างถึงกรณีศึกษาต่างๆ  คู่มือฉบับนี้
                  ต้องการเน้นว่าฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีพันธกรณีที่ต้องดูแลให้มีการบัญญัติหรือการบังคับใช้
                  กฎหมายหลักเกณฑ์และระเบียบโดยให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน  นอกจากนั้นยังอธิบายถึง
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13