Page 6 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 6

ที่มีเนื้อหาปลุกเร้าให้ใช้ความรุนแรงตลอดเวลา  ดังนั้น เมื่อ กลุ่ม นปช. ได้ทำาการปิดล้อมและบุกรุก

                  เข้าไปในอาคารรัฐสภาในขณะที่มีการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ รวมทั้งกลุ่ม นปช.
                  ได้มีแผนที่จะเดินทางไปยังสถานีดาวเทียมไทยคม  ในวันเดียวกันนั้นด้วย รัฐบาลจึงประกาศ

                  สถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
                  เพื่อควบคุมการชุมนุม  และได้จัดตั้งศูนย์อำานวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เพื่อทำาหน้าที่

                  แก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวแทนศูนย์อำานวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่ได้จัดตั้งตาม
                  พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑

                            ศอฉ. ได้ออกมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่กลุ่ม นปช. ได้ขยาย
                  พื้นที่การชุมนุมจากบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำาเนิน ไปยังสี่แยกราชประสงค์และพื้นที่

                  โดยรอบ  นอกจากนั้น ยังได้มีการเคลื่อนการชุมนุมไปยังพื้นที่อื่นๆ ของกรุงเทพมหานครและ
                  ปริมณฑล  ทำาให้เกิดความวุ่นวาย สถานการณ์เริ่มรุนแรงมากขึ้น ทำาให้มีการบาดเจ็บและสูญเสีย

                  ชีวิตในหลายกรณี เช่น กรณีเหตุการณ์วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
                  สี่แยกคอกวัวและพื้นที่โดยรอบ  กรณีความรุนแรงที่แยกศาลาแดง ถนนสีลม เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน

                  ๒๕๕๓ กรณีความรุนแรงที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓
                  และกรณีกลุ่ม นปช. บุกเข้าตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นต้น

                            ในที่สุดสถานการณ์เข้าสู่ความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น  เมื่อรัฐบาลตัดสินใจสั่งการให้
                  กองกำาลังทหารปฏิบัติการ “กระชับพื้นที่” โดยการปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้น ระหว่างวันที่

                  ๑๓ – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งสิ้น ๔๕๕ คน  นอกจากนั้น
                  ยังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงต่อเนื่องหลายเหตุการณ์ เช่น การจลาจลเผาอาคารห้างสรรพสินค้า

                  การปาระเบิดใส่ที่ทำาการสถานีโทรทัศน์  การเผายางรถยนต์  ทำาร้ายร่างกาย  และลอบยิง
                  นอกจากนี้ ยังได้มีการเผาอาคารศาลากลางจังหวัดหลายจังหวัด เช่น จังหวัดอุดรธานี  จังหวัด

                  ขอนแก่น  จังหวัดอุบลราชธานี  และจังหวัดมุกดาหาร
                            จากเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว  ได้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งฝ่าย

                  รัฐ กลุ่มผู้ชุมนุม ประชาชนทั่วไป รวมถึงประเทศชาติโดยรวม  ซึ่งความสูญเสียทั้งหมดถือเป็น
                  กรณีที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอันถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำาเป็นอย่างยิ่งที่

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพื่อชี้แจงให้สาธารณชน
                  ได้ทราบ  ตลอดจนจัดทำาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาให้ทุกภาคส่วนได้

                  ตระหนักถึงผลเสียที่เกิดจากเหตุการณ์ดังกล่าว  นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                  ยังได้รับเรื่องร้องเรียนขอให้มีการตรวจสอบการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิด

                  สิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์ดังกล่าว จำานวน ๓๒ คำาร้อง ด้วย  ซึ่งคำาร้องที่คณะกรรมการสิทธิ
                  มนุษยชนแห่งชาติได้รับทั้ง ๓๒ คำาร้อง สามารถแยกได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ  กลุ่มคำาร้องที่กล่าวหาว่า

                  รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระทำาการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  และคำาร้องที่กล่าวหา





                                                          4
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11