Page 10 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 10

๒. บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


                            คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า  เหตุการณ์การชุมนุมของ
                  กลุ่ม นปช. และการดำาเนินการของรัฐในช่วงที่มีการชุมนุม  อาจมีการกระทำาหรือการละเลยการ

                  กระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  ประกอบกับกรณีตามคำาร้องทั้งหมดเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
                  การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่ม นปช. ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙

                  พฤษภาคม ๒๕๕๓  ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากเหตุการณ์
                  ที่เกิดขึ้น  และให้รวมพิจารณาคำาร้องทั้ง ๓๒ คำาร้อง  โดยอาศัยอำานาจตามนัยมาตรา ๒๕๗ ของ

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิ
                  มนุษยชนแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒  ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์

                  และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕  และมติคณะกรรมการสิทธิ
                  มนุษยชนแห่งชาติ  โดยกำาหนดประเด็นการตรวจสอบว่า

                            ประเด็นที่  ๑  การดำาเนินการของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต่อการจัดการชุมนุม

                                          ของกลุ่ม นปช.  มีการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการ
                                          ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

                            ประเด็นที่  ๒  การใช้เสรีภาพของผู้ชุมนุมเป็นไปภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
                                          หรือไม่

                            และได้กำาหนดให้มีการตรวจสอบจากเหตุการณ์ต่างๆ รวม ๘ กรณี ได้แก่

                            ๑)  กรณีสถานการณ์ก่อนวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓
                            ๒)  กรณีนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ประกาศสถานการณ์

                  ฉุกเฉิน และสั่งจัดตั้งศูนย์อำานวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓
                  และกรณีที่ ศอฉ. สั่งระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล และสั่งระงับการเผยแพร่

                  ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออินเทอร์เน็ตบางสื่อ
                            ๓)  กรณีการชุมนุมและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับกลุ่ม นปช. เมื่อวันที่ ๑๐

                  เมษายน ๒๕๕๓
                            ๔)  กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากระเบิดเอ็ม ๗๙ บริเวณแยกศาลาแดง เมื่อ

                  วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓
                            ๕)  กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๘

                  เมษายน ๒๕๕๓
                            ๖)  กรณีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. บริเวณรอบโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

                  และการเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓
                            ๗)  กรณีการเกิดเหตุจลาจล ปะทะ และทำาลายทรัพย์สินของราชการ และเอกชน

                  ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓



                                                          8
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15