Page 5 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 5

สารจาก

                                   ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257 วรรคหนึ่ง (1) (6) และ (7) และพระราช-
           บัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 (1) (2) (4) และ (5) บัญญัติให้คณะกรรมการ

           สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งใน
           ระดับประเทศและระหว่างประเทศ ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิด

           สิทธิมนุษยชนพร้อมเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำ
           ดังกล่าวเพื่อดำเนินการ รวมทั้งส่งเสริมการศึกษา การวิจัย การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน และความร่วมมือ
           และการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ

                เนื่องจากมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เกี่ยวกับการกระทำหรือละเลย การกระทำ
           อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นจำนวนมาก และ

           โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมช่วงต้น ที่มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้
           กฎหมายหลายฉบับเพื่อการปฏิบัติภารกิจด้านการสืบสวนสอบสวน การจับกุม การคุมขัง การใช้กำลังและอาวุธปืน
           และอื่นๆ ซึ่งบางกรณีอาจทำให้เกิดการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็น

           สิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้
                ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน

           ประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย
           โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
           และส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

           จึงได้จัดให้มีการแปลเอกสารของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR Professional
           Training Series No.5/Add.3) เรื่อง “Human Rights Standards and Practice for the Police : Expanded

           Pocket Book on Human Rights for the Police” (มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่
           ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชนฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ) ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่
           เกี่ยวข้องกับภารกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งการสืบสวนสอบสวน การจับกุม การคุมขัง และการใช้กำลังและอาวุธปืน

           โดยมีบทสรุปย่อเป็นมาตรฐานสากลสำหรับสิทธิมนุษยชนแต่ละด้าน และการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง
           ข้อเสนอแนะในการนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติ  ซึ่งสมควรนำมาปรับใช้เป็นแนวทางมาตรฐานและการปฏิบัติ

           ด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในระดับผู้ปฏิบัติงานและผู้บังคับบัญชาให้สอดคล้องกับบริบทของ
           สังคมไทยต่อไป
                ขอขอบคุณคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คือ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ

           ศึกษาและจัดทำยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการ
           ยุติธรรม และคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่

           เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนทำให้การแปลและพิมพ์เอกสารชุดนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี และหวังว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
           สำหรับการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ


                                                               ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์
                                                           ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ




                                                                                                            3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10