Page 13 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)
P. 13

ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องมีความรู้และประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

                  ของประชาชน เป็นกลางทางการเมือง และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
                                กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการด ารงต าแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์
                  ทรงแต่งตั้ง และให้ด ารงต าแหน่งได้เพียงวาระเดียว

                                คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหา และการพ้นจากต าแหน่งของคณะกรรมการ
                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ
                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งนี้ บทบัญญัติเกี่ยวกับการสรรหาต้องก าหนดให้ผู้แทนองค์กรเอกชน

                  ด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วมในการสรรหาด้วย


                                มาตรา ๒๔๗ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และอ านาจ ดังต่อไปนี้

                                (๑) ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณี
                  โดยไม่ล่าช้าและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิด

                  สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐ
                  หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง
                                (๒) จัดท ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อ

                  รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน
                                (๓) เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา

                  คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค าสั่งใด ๆ
                  เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                (๔) ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์

                  เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
                                (๕) สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความส าคัญของสิทธิมนุษยชน

                                (๖) หน้าที่และอ านาจอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
                                เมื่อรับทราบรายงานตาม (๑) และ (๒) หรือข้อเสนอแนะตาม (๓) ให้คณะรัฐมนตรี
                  ด าเนินการปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสมโดยเร็ว กรณีใดไม่อาจด าเนินการได้หรือต้องใช้เวลาในการ

                  ด าเนินการ ให้แจ้งเหตุผลให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบโดยไม่ชักช้า
                                ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องค านึงถึงความผาสุกของ
                  ประชาชนชาวไทยและผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นส าคัญด้วย


                         ผู้รับสนองพระราชโองการ
                        พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

                              นายกรัฐมนตรี
















                                                                                                                 3
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18