Page 15 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2563
P. 15

บทสรุปผู้บริหาร







                       การจัดทำารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศฉบับนี้ เป็นการดำาเนินการ
              ตามหน้าที่และอำานาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่บัญญัติในมาตรา 247 (2) ของรัฐธรรมนูญ
              แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 26 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 โดยในการจัดทำารายงานดังกล่าว กสม. ได้ประมวลข้อมูลจากเหตุการณ์
              ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในปี 2563 ทั้งข้อมูลจากการดำาเนินการของหน่วยงานของรัฐ ข้อมูลจากภาคประชาชน ข้อมูล
              จากการปฏิบัติงานของ กสม. และจากการประชุมรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์
              และพิจารณาเปรียบเทียบกับสิทธิต่าง ๆ ที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายภายในและหนังสือสัญญา
              ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิในแต่ละด้านและจัดทำาข้อเสนอแนะ

              โดยได้แบ่งการประเมินสถานการณ์ออกเป็น 4 ด้าน ตามขอบเขตของสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนและ
              ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำาคัญในบริบทของประเทศไทยในปี 2563 ได้แก่ (1) การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
              ในสถานการณ์เฉพาะ (2) การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (3) การประเมินสถานการณ์
              ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม และ (4) การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล ดังมีสาระ

              สำาคัญโดยสรุป ดังนี้

              (1)   การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน

                    ในสถานการณ์เฉพาะ


                       ในปี 2563 มีสถานการณ์เฉพาะที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนที่สำาคัญ 2 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์
              การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และสถานการณ์การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา
              และประชาชน

                       การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในวงกว้างทำาให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อกำาหนดมาตรการ
              ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยบางมาตรการมีลักษณะเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพบางประการ อาทิ
              การห้ามเดินทางข้ามเขตจังหวัด การกำาหนดเวลาออกนอกเคหสถานหรือเคอร์ฟิว การห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มหรือ
              การชุมนุม แต่มาตรการดังกล่าวมีความจำาเป็นและได้สัดส่วนกับความรุนแรงของสถานการณ์โดยมีข้อมูลเชิงประจักษ์

              ที่แสดงให้เห็นว่า เป็นมาตรการที่มีประสิทธิผลและรัฐได้ผ่อนผันหรือยกเว้นการบังคับใช้มาตรการเหล่านั้นเมื่อสถานการณ์
              แพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งกลุ่มแรงงาน
              ผู้สูงอายุ และคนพิการที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจด้านเศรษฐกิจและการครองชีพ เพื่อคุ้มครองสิทธิที่จะมีมาตรฐาน
              การดำารงชีวิตที่เหมาะสม ผ่านมาตรการเยียวยาและมาตรการทางการเงินเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม การให้
              ความช่วยเหลือผ่านระบบออนไลน์ทำาให้ผู้ได้รับผลกระทบบางกลุ่มเข้าไม่ถึงสิทธิ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากมีอุปสรรค
              ทางภาษาหรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต และยังพบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เพิ่มขึ้น
              ในกลุ่มผู้หญิง และปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ได้ ในการแพร่ระบาด
              ระลอกใหม่ที่พบในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจำานวนมากและการติดเชื้อในหลายจังหวัดที่มีความเชื่อมโยงจากบ่อนการพนัน
              สะท้อนถึงการทำางานของหน่วยงานของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สามารถดำาเนินการในเรื่องดังกล่าวได้อย่างจริงจัง

              จึงทำาให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ขึ้น กสม. จึงมีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลให้คำานึงถึงข้อจำากัดในการเข้าถึงความช่วยเหลือ
              ของประชากรบางกลุ่มและกำาหนดช่องทางที่เหมาะสมเพื่อให้ประชากรกลุ่มดังกล่าวได้เข้าถึงและใช้สิทธิในทางปฏิบัติ
              ได้จริง ในส่วนของการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 นั้น ควรจัดหาให้บุคคลที่มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานที่อาจสัมผัส   บทสรุปผู้บริหาร


                                                                                          รายงานผลการประเมินสถานการณ์
                                                                                     ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2563  13
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20