Page 5 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2562
P. 5

คำานำา







                  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2562 นี้
              จัดท�าขึ้นจากการเฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์หรือสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน

              ของประเทศอย่างต่อเนื่องในรอบปี 2562 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่
              31 ธันวาคม 2562) ตามหน้าที่และอ�านาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
              ที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 247 (2)
              และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
              พ.ศ. 2560 มาตรา 26 (2) ประกอบมาตรา 33 และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้

              คณะกรรมการฯ จัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ แบบสรุปโดยอย่างน้อยใน
              รายงานต้องประกอบด้วยปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครอง
              สิทธิมนุษยชนให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน เพื่อเสนอต่อรัฐสภาและ

              คณะรัฐมนตรีและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
                  ในการจัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
              ปี 2562 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และ

              คัดเลือกประเด็นจากสถานการณ์ส�าคัญซึ่งเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง ทั้งจากหน่วยงาน
              รัฐและเอกชน สื่อมวลชน สาธารณชน ตลอดจนประชาคมระหว่างประเทศ และ/หรือ
              สถานการณ์ที่เห็นว่ามีนัยส�าคัญต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ รวมถึง
              เรื่องที่ กสม. ได้ด�าเนินงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่าง ๆ เหล่านั้น ทั้งจากการจัดท�ารายงาน

              การตรวจสอบเรื่องร้องเรียน หรือการจัดท�าข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาไปยังรัฐบาล
              หน่วยงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วน�ามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ในด้าน
              ต่าง ๆ โดยจ�าแนกตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี

                  กสม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเสนอรายงานฉบับนี้จะท�าให้สาธารณชนได้รับทราบถึง
              พัฒนาการความคืบหน้าเกี่ยวกับการด�าเนินงานเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
              ในด้านต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน จะช่วยให้เกิดการทบทวน พิจารณาประเด็นที่ยังเป็นปัญหา
              อุปสรรค เพื่อสร้างเสริมพลังการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสังคมไทยให้ดี

              ยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนเชิงสร้างสรรค์
              มากยิ่งขึ้น กสม. ขอขอบคุณหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน
              ทุกแห่งที่ให้ความร่วมมือทั้งโดยการให้ข้อมูล รวมทั้งส่งผู้แทนมาร่วมประชุมแลกเปลี่ยน
              ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดท�ารายงานฉบับนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า

              จะได้รับความร่วมมือด้วยดีในโอกาสต่อไป





                                                        คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                                                                        มกราคม  2563
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10