Page 3 - รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่สอง
P. 3

รายงานผลการด าเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่สอง ฉบับนี้
                  จัดท าขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ กล่าวคือ


                             ๑. เพื่อน าเสนอผลการด าเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
                  ชุดที่สองทั้งคณะ ซึ่งเป็นการน าเสนอในภาพรวมการด าเนินงานเป็นองค์คณะของ กสม. ทั้ง ๗ คน

                  ว่าได้มีผลการท างานร่วมกันอย่างไร โดยไม่แยกน าเสนอผลงานตามกรรมการสิทธิมนุษยชน
                  แห่งชาติแต่ละคน หรือคณะอนุกรรมการแต่ละคณะ ทั้งนี้ เนื่องจากเนื้องานการท างานด้าน

                  สิทธิมนุษยชนนั้น มีความเกี่ยวพันและทับซ้อนกันในมิติสิทธิมนุษยชนของแต่ละประเด็นสิทธิ ซึ่งท าให้

                  กสม. ไม่สามารถแบ่งแยกผลงานตามความรับผิดชอบของ กสม. เป็นการเฉพาะตัวบุคคลได้

                                ๒. เพื่อน าเสนอผลงานภาพรวมการท างานร่วมกันของ กสม. อันมีความจ าเป็น

                  เนื่องจากสาธารณชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับอ านาจหน้าที่ของ กสม. ที่คลาดเคลื่อน โดย
                  เข้าใจว่า กสม. มีหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยการรับค าร้องเรียน ตรวจสอบ

                  ข้อเท็จจริง ค้นหาผู้กระท าการละเมิดและน าผู้กระท าการละเมิดมาลงโทษ ซึ่งความเข้าใจ
                  คลาดเคลื่อนดังกล่าว มีผลให้สังคมตั้งความคาดหวังต่อ กสม. ที่ไม่สอดคล้องกับอ านาจหน้าที่ของ

                  กสม. ตามที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                  แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว อ านาจหน้าที่ของ กสม. มีทั้งการส่งเสริมให้ความรู้ด้าน

                  สิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนทุกกลุ่ม การรับค าร้องเรียนและตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเป็นการละเมิด
                  สิทธิมนุษยชนหรือไม่ และน าข้อค้นพบนั้นส่งต่อให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไปด าเนินการต่อไป

                  ทั้งนี้ เพราะ กสม. มิใช่หน่วยงานรัฐ และไม่ได้มีอ านาจหน้าที่และงบประมาณในการด าเนินการ
                  จัดการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรง แต่มีหน้าที่ให้ความคุ้มครอง โดยการเรียกร้อง

                  ให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบน าไปด าเนินการ นอกจากนี้ กสม. ยังมีหน้าที่ในการจัดท าข้อเสนอแนะให้

                  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนโยบาย กฎ และระเบียบ กรณีที่นโยบายและ/หรือกฎ
                  ระเบียบของหน่วยงานนั้น ๆ ละเมิดสิทธิมนุษยชนการเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

                  นโยบาย กฎหมาย กฎ และระเบียบ นอกจากนี้ อาจเป็นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล หรือสภาผู้แทนราษฎร
                  และสภานิติบัญญัติอีกด้วย ซึ่งในเรื่องนี้สาธารณชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ว่าเป็นอ านาจหน้าที่ของ กสม.


                                  นอกจากนี้ กสม. ยังมีอ านาจหน้าที่ในการประสานกับกลไกด้านสิทธิมนุษยชน
                  ในระดับสหประชาชาติ การจัดท ารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ซึ่งต้องปฏิบัติตามพันธกรณี

                  ที่รัฐบาลไทยเป็นภาคี รวมทั้งการเสนอแนะให้รัฐบาลและสภานิติบัญญัติ แก้ไขกฎหมายภายในของไทย
                  ให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลไทยได้ให้การรับรองเข้าร่วม

                  เป็นภาคีแล้วด้วย
   1   2   3   4   5   6   7   8