Page 10 - การติดตามการปฏิบัติตามกติกาอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
P. 10

คำานำา








                         นอกเหนือจากปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้วประเทศไทยเข้าเป็น
                  ภาคีกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับ การเข้าเป็น
                  ภาคีตราสารระหว่างประเทศดังกล่าวก่อให้เกิดพันธกรณีต่อประเทศไทยโดยไม่เพียง
                  แต่เป็นการแสดงความพร้อมที่จะยอมรับที่จะปฎิบัติตามข้อกำาหนดต่าง ๆ ที่ระบุไว้
                  ในกติกา อนุสัญญา เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการที่ประเทศไทยได้ยอมรับระบบติดตาม
                  และตรวจสอบผลการปฎิบัติตามกติกาและอนุสัญญาด้วย สหประชาชาติมีกลไก

                  ระหว่างประเทศเพื่อตรวจสอบการปฎิบัติตามกติกาและอนุสัญญาหลายรูปแบบ
                  เพื่อให้แน่ใจว่ารัฐภาคีได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติของกติกาและอนุสัญญาอย่างจริงจัง
                  ซึ่งจะทำาให้ประชาชนในประเทศที่เป็นภาคีได้รับการเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                  อย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของกติกาและอนุสัญญา


                         ระบบการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกติกา อนุสัญญา
                  ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นยังมีข้อจำากัดบางประการ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                  ของรัฐภาคีหนึ่งจึงอยู่ในสถานะที่จะช่วยเสริมการดำาเนินงานของระบบการติดตาม
                  ตรวจสอบในระดับประเทศและระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสถาบัน

                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นองค์กรที่อยู่ในพื้นที่และใกล้ชิดกับปัญหา มีความรู้ความเข้าใจ
                  เกี่ยวกับประเทศของตน ตลอดจนมีโอกาสที่จะสื่อสารและประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง
                  ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์การเอกชนและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเอื้อ
                  ให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถติดตามตรวจสอบในระดับประเทศได้
                  อย่างมีประสิทธิภาพ สหประชาชาติจึงกำาหนดให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                  ทำาหน้าที่เป็นกลไกติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
                  ระหว่างประเทศและถือเป็นบทบาทหน้าที่ที่สำาคัญเพื่อให้เกิดการยอมรับจากประชาคม

                  ระหว่างประเทศ โดยได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนใน “หลักการปารีส” หรือ “หลักการ
                  ว่าด้วยสถานะของสถาบันแห่งชาติเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน”
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15