Page 9 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 9

8        แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน




                                                                                    อมรา พงศาพิชญ์









                คํานํา

                       คนไทยเริ่มเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้นแต่ก็ยังไม่ทั่วถึง และยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้
                เห็นอยู่เนืองๆ หากมองย้อนอดีตในสังคมตะวันออกผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธ หรือศาสนาอื่นที่เชื่อ

                ในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด กฎแห่งกรรม และชะตากรรม จะเข้าใจว่ามนุษย์เราเลือกเกิดไม่ได้ สถานภาพ
                ของมนุษย์ที่เกิดมาในชาตินี้เป็นผลของกรรมที่ทําในชาติก่อน การเกิดมาต่ําต้อย ยากจน หรือพิการ จึงเป็น

                เรื่องที่ต้องยอมรับ  ความไม่เท่าเทียมเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ตราบเท่าที่ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคมยังเป็น
                ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาและเกื้อกูลกัน สิทธิในสังคมประเพณีให้ความสําคัญแก่อํานาจของผู้เป็นใหญ่ หรือผู้มี

                อาวุโสที่มีฐานะตําแหน่งเหนือกว่า ในการรับผิดชอบดูแลคนอื่นๆ วิถีชีวิตของผู้ด้อย จึงขึ้นอยู่กับการดูแลของผู้
                มีอํานาจ เนื่องจากในสังคมศักดินา สิทธิหรืออํานาจได้มาและมีอยู่ตามฐานะและบรรดาศักดิ์ที่วางอยู่บนระบบ

                อุปถัมภ์ สิทธิจึงเท่ากับอภิสิทธิ์ของชนชั้นนํา

                       ในสังคมตะวันตก ความคิดเรื่องสิทธิมีรากฐานมาตั้งแต่ความคิดและปรัชญาสมัยกรีกโบราณ ที่เชื่อว่า

                มนุษย์เกิดมาตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งสร้างจักรวาล โลก และมนุษย์ เริ่มจากสิทธิที่เกิดจาก
                ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและชุมชน แล้วจึงถึงระดับสังคมภายในรัฐ ต่อมาในสังคมสมัยใหม่ เมื่อแนวคิด

                เสรีนิยมและระบบทุนนิยมขยายตัว สิทธิดั้งเดิมที่มีลักษณะเชิงซ้อนในรูปแบบของสิทธิชุมชนได้แปรเปลี่ยนมา
                สู่สิทธิปัจเจกบุคคล จากสิทธิที่รองรับโดยกฎเกณฑ์ และธรรมเนียมของชุมชน มาสู่สิทธิที่รองรับโดยกฎหมาย

                และรัฐ

                       อย่างไรก็ดี ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสังคมชนชั้นเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ เกิดการต่อสู้และต่อรองระหว่าง

                รัฐกับราษฎรอยู่บ่อยครั้ง โดยผู้มีอํานาจหรือผู้ปกครองสามารถจํากัดสิทธิบางอย่างของผู้ใต้ปกครอง ส่วน
                ราษฎรก็มักใช้วัฒนธรรม ประเพณีเป็นกลไกเรียกร้องและใช้สิทธิเท่าที่โอกาสจะอํานวย เหตุการณ์ที่มีผลต่อ

                พัฒนาการของแนวคิดเรื่องสิทธิ คือ การปฏิวัติในอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1776 และการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789
                การปฏิวัติทั้งสองครั้งมีผลทําให้การให้ความหมายเรื่องสิทธิมีความชัดเจนขึ้นเป็นอย่างมาก ศักดิ์ศรีความเป็น

                มนุษย์ได้ถูกอ้างอิง ทําให้เป็นสิทธิพลเมืองและกลายเป็น “สิทธิตามธรรมชาติ” ของมนุษย์โดยทั่วไป รัฐบาล
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14