Page 9 - สิทธิมนุษยชน : รวมบทความ ศ.เสน่ห์ จามริก
P. 9

สิทธิมนุษยชน รวมบทความ ศ.เสน่ห์  จามริก


                                    ดังที่เราทั้งหลายทราบกันดี เอเชียอาคเนย์มีฐานะเป็นทั้งยุทธศาสตร์
                             บนเส้นทางเดินเรือจากตะวันออกกลางสู่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นหนึ่ง

                             ในภูมิภาคที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรเขตร้อนสูงสุด ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคนี้จึงตกอยู่ภายใต้
                             การแข่งขันยึดครองอำนาจตะวันตกเรื่อยมา นับจากช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
                             และจักรวรรดินิยมที่ตามมา ครั้นเมื่อได้มาซึ่งเอกราชและสิ่งที่เรียกว่า “การกำหนดใจตนเอง

                             (Self determination)” ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สถานการณ์ก็หาได้ดีขึ้นนักไม่
                             แต่กลับเป็นการนำมาซึ่งพลังอำนาจที่เร่งเร้าความแตกแยกและการขูดรีดทรัพยากร

                             หนักข้อขึ้นไปอีก ในนามของภารกิจสร้างชาติ การทำให้ทันสมัย แล้วก็ตามมาด้วย
                             การพัฒนาผิดทิศทางตลอดช่วงเหล่านี้ ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น
                             อันล้ำค่า รวมทั้งชุมชนท้องถิ่นของเอเชียอาคเนย์ ต้องตกเป็นเหยื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า

                             ของรูปแบบการกดขี่ขูดรีด การข่มเหงลิดรอนสิทธ์นานัปการ ดังที่เราก็ยังเห็นกันอยู่
                             ทุกวันนี้ และในขณะนี้ จากกระแสโลกาภิวัฒน์ทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้า

                             ทางเทคโนโลยีชีวภาพในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทรัพยากรทางพันธุ์กรรมก็ได้
                             กลายเป็นเป้าหมายหลักในการที่จะยึดกุมเศรษฐกิจโลก ภายใต้แรงผลักดันของการทำ
                             กำไรสูงสุดและการเติบโตทางเศรษฐกิจล้วน ๆ ทั้งหมดนี้เป็นภัยคุกคามที่ชัดเจน

                             ต่อระบบนิเวศอันเปราะบางของโลก ซึ่งก็ย่อมส่งผลต่อผู้คนที่อิงอาศัยระบบนิเวศ
                             เหล่านี้ กล่าวโดยย่อ นี่คือภัยคุกคามต่อสิทธิพื้นฐานในชีวิตของประชาชน

                                    ภายใต้สถานการณ์ ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญา
                             ท้องถิ่นจึงต้องทำความเข้าใจด้วยมุมมองขององค์รวมแห่งภูมิภาค มิใช่เป็นส่วน ๆ
                             ดังที่เคยกระทำมา กล่าวคือ ควรเป็นมุมมองเชิงคุณภาพโดยองค์รวมมากกว่า

                             ที่จะเป็นมุมมองเชิงปริมาณแบบลดทอนแยกส่วน มุมมองอย่างที่กล่าวนี้ย่อมแฝงไว้
                             ด้วยความสามารถในการมองเห็นองค์รวมทางภูมิศาสตร์ตลอดจนความสัมพันธ์

                             ซึ่งกันและกันระหว่างปวงชนต่อปวงชน ทุกวันนี้ มีการมีพูดกันมากและมีโครงการ
                             เชิงปฏิบัติการอยู่ไม่น้อยที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งและเสริมพลังให้กับประชาชน


                              ๔                           สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14