Page 6 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 6

คำนำ














                   ณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตระหนักอย่างยิ่งว่าการจะพิทักษ์สิทธิและคุ้มครองผู้ใช้
              คแรงงานได้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนที่สุด มีหนทางเดียวเท่านั้น คือ ทุกฝ่ายต้องตระหนักและ
              ยอมรับถึงสิทธิของผู้ใช้แรงงาน และร่วมมือกันส่งเสริมให้สหภาพแรงงาน และองค์กรของผู้ใช้แรงงานต่างๆ
              เข้มแข็ง เนื่องจากการอาศัยแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐที่มีกำลังจำกัด ย่อมไม่มีทางเป็น
              ไปได้ แม้เพียงแต่การปกป้องคุ้มครองให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่สำคัญคือนโยบายของรัฐให้มีทิศทาง
              การพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างความเป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงาน และผู้เสียเปรียบในสังคม ไม่เน้นแต่การ
              พัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก ที่คำนึงแต่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีพันธะที่จะ
              ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ซึ่งร่วมมือกันทุก

              ฝ่ายอย่างจริงจัง โดยมีพื้นฐานที่ความเข้มแข็งขององค์กรผู้ใช้แรงงานเอง ประสานกับหน่วยงานของรัฐ
              องค์กรเอกชน กระทั่งความเข้าใจจากผู้ประกอบการ
                    ในการศึกษาการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน  จากกรณีร้องเรียนบางส่วนต่อ
              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน และบุคลากรสำนักงาน กสม.ได้
              ร่วมกันค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูล การไกล่เกลี่ยเยียวยา และการกำหนดเสนอแนะนโยบายและมาตรการ
              ในการจัดทำรายงานการตรวจสอบเสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอต่อหน่วยงาน
              ที่เกี่ยวข้องและต่อรัฐสภา  และได้วิเคราะห์เพิ่มเติม  ให้เห็นทั้งปัญหา  และข้อเสนอแนะที่ชัดเจน

              ทั้งกฎหมายและนโยบายของรัฐ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการสิทธิ
              มนุษยชนแห่งชาติต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นคุณประโยชน์ต่อขบวนการผู้ใช้แรงงาน หน่วย
              งานของรัฐและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงสร้างความเข้าใจร่วมกันในสังคมไทยให้ตระหนักถึงสิทธิผู้ใช้แรงงาน
              ได้ดียิ่งขึ้น
              	     ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอขอบคุณอย่างยิ่งในการสนับสนุนการจัดทำต้นฉบับ
              โดยมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ซึ่งสนับสนุนขบวนการผู้ใช้แรงงานมาโดยตลอด
รวมทั้งพิพิธภัณฑ์
              แรงงานไทย และสหภาพแรงงานต่างๆ ที่สนับสนุนภาพประกอบจำนวนมาก


                                                          ศาสตราจารย์เกียรติคุณประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
                                                                     ประธานอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                                                                                      มีนาคม ๒๕๕๑

















     Master 2 anu .indd   6                                                                       7/28/08   8:30:56 PM
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11