ฐานข้อมูลศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
http://library.nhrc.or.th
เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม
  กลับหน้าหลัก

Marc Display : E-mail record ปิดหน้าต่าง
ภาพปก
 เลขเรียก HM1126 ก523 2556
 ISBN 9789744497017 (pbk.)
 ชื่อเรื่อง รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ / วุฒิสาร ตันไชย...[และคนอื่น ๆ]
 พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2556.
 รูปเล่ม ก-ฏ, 187, [262] หน้า : ภาพประกอบ ; 26 ซม.
 หมายเหตุทั่วไป เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร
 หมายเหตุสารบัญ Partial Contents: โครงการวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
-- แนวคิดทฤษฎีในกระบวนการสร้างความปรองดอง
-- ประสบการณ์การสร้างความปรองดองในต่างประเทศ
-- ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองในบริบทไทย
-- ความคิดเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้ง
-- บทสังเคราะห์เหตุแห่งความขัดแย้งทางการเมืองไทยและข้อเสนอกระบวนการสร้างความปรองดองในชาติ
 บทคัดย่อ Summary: การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรว่า “อะไรคือรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีปัจจัยหรือกระบวนการใดที่ทำให้คนในสังคมสามารถกลับมาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ?” โดย (1) การทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขความขัดแย้ง กระบวนการสร้างความปรองดอง และความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ร่วมกับการศึกษากฎหมาย รูปแบบ และกลไกที่เกี่ยวข้องซึ่งเคยมีการนำไปใช้ในการแก้ไขความขัดแย้งและสร้างความปรองดองทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ (2) การสรุปบทเรียนจากเวทีประชาเสวนาหาทางออกซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้ดำเนินการในทุกภูมิภาคทั่วประเทศโดยให้ประชาชนหลายภาคส่วนร่วมกันเสวนาหาทางออกของประเทศไทยร่วมกันในช่วงเดือนธันวาคม 2553 – มิถุนายน 2554 (3) การศึกษาประสบการณ์การแก้ไขความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองในต่างประเทศ ซึ่งคัดเลือกมา 10 กรณีศึกษาจากหลากหลายทวีปในบริบทที่แตกต่างกัน ได้แก่ เกาหลีใต้ โคลอมเบีย ชิลี โบลิเวีย โมร็อกโก เยอรมนี รวันดา สหราชอาณาจักร (กรณีไอร์แลนด์เหนือ) อินโดนีเซีย (กรณีอาเจะห์) และแอฟริกาใต้ (4) การประมวลวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน และ (5) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง จำนวน ๔๗ คน ซึ่งประกอบด้วยนักการเมืองอาวุโส ผู้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ความขัดแย้ง ผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างความปรองดอง และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยใช้คำถามปลายเปิดสำหรับการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) 2 ครั้ง โดยมีระยะเวลาในการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น 120 วัน ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ รากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองไทย และ ส่วนที่สองคือ ข้อเสนอกระบวนการสร้างความปรองดองในชาติ.
 หัวเรื่อง ความยุติธรรม
 หัวเรื่อง การไกล่เกลี่ย--ไทย
 หัวเรื่อง การบริหารความขัดแย้ง--ไทย
 หัวเรื่อง ความขัดแย้งทางการเมือง
 หัวเรื่อง ความขัดแย้งทางสังคม--ไทย
 หัวเรื่อง ความยุติธรรมกับการเมือง--ไทย
 ผู้แต่งร่วม วุฒิสาร ตันไชย
 ผู้แต่งนิติบุคคล สถาบันพระปกเกล้า
 เชื่อมโยง บทสรุปผู้บริหาร
 เชื่อมโยง Electronic resource
 สารบัญ สารบัญ
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
รายการสื่อสารสนเทศ
ลำดับที่ ประเภท เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1. วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย
วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย
HM1126 ก523 2556  
  Barcode: 30100100047484
มุมวิทยานิพนธ์ & วิจัย บนชั้น
  ขอยืม

รายการใกล้เคียง
    หัวเรื่อง [ความยุติธรรม]
    หัวเรื่อง [ความขัดแย้งทางการเมือง]

BibComment

ยังไม่เคยถูกคอมเมนท์

คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้
  คอมเมนท์: รายงานวิจัยการสร..
Bib 8083

Registered ULIB  Copyright 2024. All Rights Reserved.