ฐานข้อมูลศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
http://library.nhrc.or.th
เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม
  กลับหน้าหลัก

Marc Display : E-mail record ปิดหน้าต่าง
ภาพปก
 เลขเรียก BP190.5.H91 ส766 2550
 ผู้แต่ง สุดปรารถนา นีละไพจิตร
 ชื่อเรื่อง สิทธิมนุษยชนในอิสลามกับการรับรองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย / สุดปรารถนา นีละไพจิตร
 ชื่อเรื่องที่แตกต่าง Human rights in Islam and the guarantee of rigths and liberties under the constitutions of Kingdom of Thailand
 พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
 รูปเล่ม ก-ฒ, 301 แผ่น ; 30 ซม.
 หมายเหตุวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ (น.ม. นิติศาสตร์) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
 บทคัดย่อ Summary: สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักคำสอนของศาสนาอิสลามเองก็กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน เบื้องต้นจึงสันนิษฐานได้ว่าหลักคำสอนของศาสนาอิสลามให้ความสำคัญกับการรับรองสิทธิมนุษยชนในลักษณะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลการศึกษาก็พบว่าศาสนาอิสลามเป็นอีกศาสนาหนึ่งที่มีหลักคำสอนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และกลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วโลกก็ได้รวมตัวกันก่อตั้งองค์การอิสลาม หรือ O.I.C และบัญญัติปฏิญญาไคโรว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในอิสลาม ค.ศ. 1990 (The Cairo Declaration on Human Rights in Islam 1990 ) ขึ้น โดยสิทธิมนุษยชนที่บัญญัติในปฏิญญานี้ล้วนแต่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 อาจมีส่วนที่ต่างกันบ้างแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น สำหรับการรับรองสิทธิเสรีภาพของมุสลิมในประเทศไทยเห็นว่า แม้หลักสิทธิมนุษยชนตามหลักศาสนาอิสลามจะคล้ายคลึงกับสิทธิเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแต่จำต้องมีการตรากฎหมายลำดับรองเพื่อให้การรับรองสิทธิเสรีภาพด้านต่าง ๆ สัมฤทธิ์ผลตามหลักศาสนาอิสลามได้ซึ่งปัจจุบันมีพระราชบัญญัติมารับรองเพื่อให้สิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามได้รับความคุ้มครองอย่างจริงจังโดยมีการตรากฎหมายเฉพาะเรื่อง 4 ฉบับด้วยกัน ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าหลักสิทธิมนุษยชนในศาสนาอิสลามซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนของตะวันตกสามารถนำมาปรับใช้กับสังคมไทยได้เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังสามารถการนำหลักชะรีอะฮ์หรือแนวทางการดำเนินชีวิตตามครรลองของศาสนาอิสลามมาใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในชุมชนมุสลิมเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือก เนื่องจากหากเข้าใจหลักการและแนวคิดทางศาสนาแล้วจะเห็นว่าสอดคล้องและนำมาใช้ในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี.
 หัวเรื่อง สิทธิมนุษยชน--ไทย
 หัวเรื่อง ศาสนาอิสลาม--ไทย
 หัวเรื่อง สิทธิมนุษยชน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
 หัวเรื่อง กฎหมายรัฐธรรมนูญ--ไทย
 หัวเรื่อง สิทธิมนุษยชน--แง่ศาสนา
 คำศัพท์เนื้อหา วิทยานิพนธ์
 ผู้แต่งร่วม Sudprathana Neelapaichit
 ผู้แต่งนิติบุคคล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
 สารบัญ สารบัญ
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
รายการสื่อสารสนเทศ
ลำดับที่ ประเภท เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1. วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย
วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย
BP190.5.H91 ส766 2550  
  Barcode: 30100100043707
มุมวิทยานิพนธ์ & วิจัย ถูกยืม กำหนดส่งวันที่ 22 พฤษภาคม 2567
  จอง

รายการใกล้เคียง
    ผู้แต่ง [สุดปรารถนา นีละไพจิตร]

BibComment

ยังไม่เคยถูกคอมเมนท์

คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้
  คอมเมนท์: สิทธิมนุษยชนในอิ..
Bib 7907

Registered ULIB  Copyright 2024. All Rights Reserved.