Page 8 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 8

8   สำ�นักงานคณะกรรมการสำิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                            สิทธิชุมชน
                                            ในมิติทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม




                   ภาพรวมแนวปฏิบัติ
                     เพื่อการจำัดการ
                  ร่วมประเด็นสิทธิชุมชน                 ความส�คัญของสิทธิชุมชน
                     กับการจำัดการ
                   ทรัพยากรธรรมชาติ
                     และสิ่งแวดล้อม


                                            แนวทางการรับรองสิทธิชุมชน
                                            ในมิติทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม




                ก�าหนดขอบเขตค�านิยามต่าง ๆ ให้ชัดเจนไม่แคบหรือกว้างเกินไป โดยเฉพาะค�าว่า “ชุมชน” และ “สิทธิชุมชน”


                รับรองสิทธิชุมชนในลักษณะเป็นสิทธิที่สามารถใช้ได้ทันที ไม่จ�าเป็นต้องจดทะเบียน หรือขออนุญาต
                โดยครอบคลุมทั้งสิทธิในการจัดการ บ�ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
                และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน และสิทธิที่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                หรือรัฐในการด�าเนินการ



                สิทธิที่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐ ก�าหนดให้ใช้ได้ในสองลักษณะ ดังนี้
                  ๑)  สิทธิเชิงกระบวนการ คือ สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐในระดับร่วมจัดการ
                  ๒)  สิทธิภายใต้ระบบการจัดการร่วมโดยเอาชุมชนเป็นฐาน โดยก�าหนดบทบาทของชุมชนให้เด่นมากกว่า
                บทบาทของรัฐ


                ควรน�าหลักเกณฑ์การจัดการร่วม ๘ ข้อของเอลินอร์ ออสตรอม (Elinor Ostrom) มาใช้เป็นแนวทาง
                ในการก�าหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิชุมชน ดังนี้
                  ๑)  การระบุขอบเขตที่ชัดเจน ทั้ง “ขอบเขตเกี่ยวกับผู้ใช้” และ “ขอบเขตของทรัพยากร”
                  ๒)  กติกาในการจัดการทรัพยากรจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมและเงื่อนไขของพื้นที่
                  ๓)  ผู้มีส่วนได้เสียในการใช้ทรัพยากรสามารถมีส่วนร่วมในการก�าหนดกติกา
                  ๔)  มีการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้มีส่วนได้เสียในการใช้ทรัพยากร
                  ๕)  มีการลงโทษผู้ละเมิดกฎกติกาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
                  ๖)  มีกลไกจัดการความขัดแย้งที่มีต้นทุนต�่าและเข้าถึงได้ง่าย
                  ๗)  รัฐยอมรับในสิทธิของชุมชน โดยรับรู้และให้สิทธิแก่ชุมชนในการก�าหนดและบังคับใช้กติกาได้
                  ๘)  กติกายึดโยงกับระบบที่ใหญ่กว่า


                มีระบบสนับสนุนการใช้สิทธิชุมชน อาทิ มี “องค์กร/สภาคู่ขนาน” ของชุมชนที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย
                เพื่อเป็นกลไกในการเฝ้าระวัง รวมถึงการก�าหนดให้มีมาตรการ/เครื่องมือ/กลไกใน “การส่งเสริมชุมชนและ
                สิทธิชุมชน” โดยเฉพาะการช่วยเหลือชุมชนที่ไม่แข็งแรง เพื่อจะได้สามารถใช้สิทธิชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13