Page 7 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 7

ส่งผลเสียต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ

               ของบุคคลอื่น และสิทธิของประชาชนจะต้องไม่ถูกริดรอนโดยการออกกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของ

               บุคคลอย่างเกินเหตุสมควร หรือกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ประการสำคัญถัดมา คือการที่

               รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดสิทธิในรูปแบบของข้อจำกัด (negative list) ตามกฎหมายที่ออกมาแล้ว
               ริดรอนสิทธิ (ภายใต้เงื่อนไขตามมาตรา 25 และ 26) แต่การไม่ระบุสิทธิที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนย่อมทำให้

               ประชาชนไม่สามารถตระหนักว่าตนเองได้รับการคุ้มครองในประเด็นใดบ้าง รวมถึงอาจจะทำให้ประชาชนถูก

               ละเมิดสิทธิจากความไม่ตระหนักว่าตนเองมีสิทธิก็เป็นได้ เช่นเดียวกับหน่วยงานภาครัฐเองที่ไม่อาจรับทราบถึง

               ความชัดเจน และไม่สามารถระบุได้ว่าหน่วยงานใดควรที่จะทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าว ส่งผลให้สิทธิ

               บางประการไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะควรในทางปฏิบัติ อันเนื่องมาจากการที่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐใด
               เป็นหน่วยงานหลักในการให้การดูแลรับผิดชอบ ท้ายที่สุดแล้ว รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดกลไกการคุ้มครอง

               การละเมิดสิทธิของภาครัฐผ่านมาตรา 26 ที่ระบุให้การออกกฎหมายจะต้องมีการพิจารณาว่าไม่ได้มีการ

               ริดรอนสิทธิมนุษยชนเกินกว่าสมควร หากแต่ยังไม่พบว่ามีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในภาคปฏิบัติ


                       ข้อเสนอแนะเพื่อเสริมหนุนกลไกคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญจึงมี 4 ข้อ ประกอบด้วย

                       1. ควรมีหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ดูแลปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ

               และดูแลปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของการลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศ


                       2. รัฐธรรมนูญควรที่จะให้การรับรองสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจที่ชัดเจน สอดคล้องกับ

               หลักการสากล และรัฐธรรมนูญควรจะกำหนดนิยามเพิ่มเติมในสิทธิที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนให้

               ครอบคลุมและครบถ้วน โดยการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 5 (หน้าที่ของรัฐ) และหมวด 6 (แนวนโยบาย)


                       3. กสม. ควรที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยพิจารณาบทบัญญัติที่มีความเกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง
               สิทธิ โดยทำหน้าที่พิจารณากฎระเบียบและกฎหมายในช่วงรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อ

               วิเคราะห์ผลกระทบในมิติของสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจ และควรทำหน้าที่ในการพิจารณาความ

               เหมาะสมของข้อบัญญัติใหม่ ๆ ตามบทบัญญัติในมาตรา 25 และ 26 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการตีความ

               ตามที่ถูกบัญญัติขึ้น


                       4. กสม. ควรที่จะเสนอให้ภาครัฐมีการดำเนินการตามมาตรา 26 โดยกำหนดให้ทุกหน่วยงานภาครัฐที่
               จะมีส่วนในการออกบทบัญญัติ (กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ) ให้มีการพิจารณาในประเด็นของการจำกัด

               และละเมิดสิทธิมนุษยชน และให้มีการเขียนเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพนั้นไว้ด้วย


                       นอกเหนือจากช่องว่างของรัฐธรรมนูญข้างต้น คณะผู้วิจัยได้ทำการเจาะลึกเพื่อศึกษาถึงประเด็น

               ปัญหาในแต่ละสิทธิ โดยจำแนกสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ ออกเป็น 9 สิทธิ ได้แก่ 1) สิทธิของผู้ถือ
               หุ้น 2) สิทธิแรงงาน 3) สิทธิสำหรับธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน 4) สิทธิชุมชน ที่ดินและสิ่งแวดล้อม 5) การลงทุน



                                                            iv
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12