Page 6 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 6

ประกอบธุรกิจ ซึ่งผลการวิเคราะห์จะทำให้เห็นช่องว่างที่เกิดขึ้นจริงและนำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนการ

               พัฒนากลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนของภาครัฐ

                       อย่างไรก็ดี เนื่องจากประเทศไทยมีกฎหมายเป็นจำนวนมาก โดยมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ

               (พ.ร.บ.) และพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ไม่น้อยกว่า 880 ฉบับ และมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ รวมถึงประกาศใน
               ทุกลำดับขั้นอีกมากกว่า 100,000 ฉบับ จึงทำให้การวิเคราะห์ช่องว่างของกฎหมายทางตรงโดยพิจารณา

               กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและประกาศในทุก ๆ ฉบับ อาจจะไม่มีความเหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดทางด้าน

               ระยะเวลาและงบประมาณในการวิจัย ประกอบกับสภาพปัญหาทางด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของไทยที่มี
               ลักษณะเป็นพลวัต คือมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปัญหาเก่าจบลงไป และมีปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามมา รวมถึง

               ปัญหาที่ยังคงค้างรอการแก้ไขอยู่ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่
               เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่สำคัญในปัจจุบัน โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผลงานวิจัยเป็นกรอบแนวทางในการประเมิน

               และตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของประเทศ

               (National Action Plan on Business and Human Rights หรือ NAPs) ว่าได้มีการดำเนินการในประเด็น
               ส่วนที่สำคัญกับประเทศไทยมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงได้มีการดำเนินการเพื่อปิดช่องว่างของกลไกสำคัญที่

               เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นหรือไม่

                       งานวิจัยชิ้นนี้ได้กำหนดกรอบในการคัดเลือกปัญหาโดยกำหนดให้ประเด็นใดประเด็นหนึ่งจะเป็น

               ประเด็นเฉพาะที่สำคัญ หากมีลักษณะของปัญหาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ 1. ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย 2.
               ปัญหาที่มีขนาดใหญ่ 3. ปัญหาที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต 4. ปัญหาที่แก้ไขโดยง่าย หรือ 5. ปัญหา

               พื้นฐานที่เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ

                       การประเมินความสำคัญของประเด็นข้างต้น ได้อาศัยข้อมูลจากสถิติที่จัดเก็บโดยหน่วยงานภาครัฐที่มี

               หน้าที่ในการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน การจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น และการสัมภาษณ์

               ตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
               สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภาคประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

               และสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน สิทธิแรงงาน และสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาการ และนัก

               กฎหมายด้านธุรกิจการค้า การลงทุน โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิผ่านการจัดประชุมกลุ่มย่อยและการ
               สัมภาษณ์ได้มีการรวบรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิรวม 73 ท่าน


                       ผลการศึกษาพบว่า ช่องว่างในกลไกที่สำคัญประการที่หนึ่ง คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
               พุทธศักราช 2560 ซึ่งขอบเขตอำนาจบังคับใช้ของรัฐธรรมนูญมีความครอบคลุมกับคนไทยในผืนแผ่นดินไทย

               เป็นหลัก จึงให้การดูแลกลุ่มประชากรต่างด้าวที่เข้ามายังประเทศไทยได้อย่างจำกัด ทั้งยังไม่ได้ครอบคลุมไปถึง

               คนไทยที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในต่างแดน และไม่ได้ครอบคลุมไปถึงธุรกิจไทยที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ

               และทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ประเทศปลายทางเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ข้อความในรัฐธรรมนูญมาตราที่

               เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อันได้แก่ มาตรา 25 และมาตรา 26 ยังมีเนื้อความที่ไม่ชัดเจน ได้แก่
               สิทธิที่จะถูกระงับโดยอัตโนมัติหากสิทธิดังกล่าวกระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือ


                                                            iii
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11